อิเล็กทรอไลต์

ไอออนใน กรด-เบส

ทฤษฏีกรด-เบส

คู่กรด-เบส

การแตกตัว กรด-เบส

การแตกตัวของน้ำ

pH ของสารละลาย

อินดิเคเตอร์

กรด-เบส ในชีวิตประจำวัน

ปฏิกิริยา กรด-เบส

สารละลายบัฟเฟอร์

การไทเทรต กรด-เบส

      หน่วยที่ 4 : เรื่องปฏิกิริยาของกรดและเบส    

 


 |



ปฏิกิริยาของกรด-เบส

     จากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตตและเลาว์รี กรดคือสารที่ให้โปรตอน และเบสคือ สารที่รับโปรตอน เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบส จึงมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างกรดและเบสนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่าง HCl และ NaOH สามารถเขียนปฏิกิริยาได้ดังนี้

HCl (aq) + NaOH (aq) NaCl (aq) + H2O

      HCl เป็นกรดจะให้โปรตอน (H+) กับเบส NaOH ได้เกลือ NaCl กับน้ำ โปรตอนถ่ายโอนจากกรด HCl ไปให้กับเบส NaOH เมื่อเขียนสมการไอออนิกสุทธิระหว่างกรดและเบสจะได้ดังนี้

H+ (aq) + OH- (aq) H2O (l)
      ปฏิกิริยาระหว่าง H+ จากสารละลายกรดกับ OH- จากสารละลายเบสได้ H2O เรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน (Neutralization reaction)
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส จะได้เกลือกับน้ำเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบางปฏิกิริยาที่ได้เกลือเพียงอย่างเดียว เช่น ปฏิกิริยาระหว่าง HCl กับ NH3 ได้เกลือ NH4Cl ซึ่งเกลือ NH4Cl จะแตกตัวให้ NH4+ และ Cl- ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้

HCl (aq) + NH3 NH4Cl (aq) NH4+ (aq) + Cl-(aq)

ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริกกับแบเรียมไฮดรอกไซด์จะได้ตะกอน BaSO4 กับน้ำ

H2SO4 (aq) + Ba(OH)2 (aq) BaSO4 (s) + 2H2O (l)

      สารละลาย H2SO4 และสารละลาย BaSO4 นำไฟฟ้าได้ แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันแล้วสารละลายที่ได้ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เพราะ BaSO4 เป็นของแข็งที่ละลายน้ำได้น้อยมาก จึงไม่มีไอออนที่จะนำไฟฟ้าได้

ที่มา : http://www.elmhurst.edu/~chm/vchembook/182bases.html

ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสแก่ KOH ได้เกลือ KCl และน้ำ ดังนี้
HCl (aq) + KOH (aq) KCl (aq) + H2O (l)

2.ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH4OH ได้เกลือ NH4Cl และน้ำ
HCl (aq) + NH4OH (aq) NH4Cl (aq) + H2O (l)

3.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH และเบส NaOH ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa) และน้ำ
CH3COOH (aq) + NaOH (aq) CH3COONa (aq) + H2O (l)

4.ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน

เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด HCN กับเบส NH4OH ได้เกลือ NH4CN และน้ำ
HCN (aq) + NH4OH (aq) NH4CN (aq) + H2O (l)

ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสในน้ำนี้จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางได้ ซึ่งพิจารณาได้เป็น 2 กรณี
1.ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
2.ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรลิซิส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป

 

ปฏิกิริยาของกรดหรือเบสกับสารบางชนิด

กรดนอกจากจะสามารถทำปฏิกิริยาสะเทินกับเบสได้เกลือกับน้ำ แล้วยังสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น Zn, Fe, ได้ก๊าซ H2 และเกลือของโลหะนั้น หรือทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต เช่น CaCO3 , Na2CO3 หรือเกลือ NaHCO3 ได้ก๊าซ CO2
ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่าง HCl กับ CaCO3 จะได้เกลือและก๊าซ CO2

HCl(aq) + CaCO3 (s) CaCl2 (aq) + CO2 (g)

เบสก็เช่นเดียวกันนอกจากจะทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดได้เกลือกับน้ำแล้ว ยังสามารถทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนียมเช่น NH4Cl, (NH4)2SO4 , จะได้ก๊าซ NH3 หรือทำปฏิกิริยากับเกลือ เช่นปฏิกิริยาระหว่าง NaOH กับ FeCl3 ได้สารผลิตภัณฑ์ดังนี้

3NaOH (aq) + FeCl3 (aq) Fe(OH)2 (s) + 3NaCl (aq)

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรดและเบสทำปฏิกิริยากันเองได้ และทั้งกรดและเบสก็สามารถทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ด้วย

เกลือ (Salt)

เกลือเป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยไอออนบวก (แคตไอออน) และไอออนลบ (แอนไอออน) ยกเว้น OH- ตัวอย่างเช่น NaCl ประกอบด้วยโซเดียมไอออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน (Cl-) แบเรียมซัลเฟต (BaSO4) ประกอบด้วยแบเรียมไอออน (Ba2+) และซัลเฟตไอออน (SO42-) เกลือ NaCl ละลายในน้ำได้ดีและให้ Na+ และ Cl- แต่เกลือ BaSO4 เป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้สารละลายของเกลือ NaCl นำไฟฟ้าได้ดี แต่สารละลายของเกลือ BaSO4 ไม่นำไฟฟ้า

เราอาจจำแนกเกลือออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1.เกลือปกติ (Normal salt)

เกลือปกติเป็นเกลือที่ไม่มีไฮโดรเจนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนที่อาจถูกแทนที่ ดังนั้น จึงประกอบด้วยไอออนบวกคือโลหะ หรือกลุ่มธาตุที่เทียบเท่าโลหะ เช่น NH4+ (แอมโมเนียมไอออน) กับไอออนลบซึ่งเป็นอนุมูลกรด (Acid radical) ตัวอย่างของเกลือปกติ เช่น NaCl K2SO4 , Ca3(PO4)2 , NH4NO3 , (NH4)2SO4 , ZnSO4 เป็นต้น

2.เกลือกรด (Acid salt)

เกลือประเภทนี้มี H อะตอมอยู่ในโมเลกุลของเกลือ ซึ่งสามารถไอออไนซ์ได้ (แตกตัวเป็นไอออนได้) เช่น NaHSO4 , NaHCO3 , Na2HPO4 , NaH2PO4 เป็นต้น

3.เกลือเบสิก (Base salt)

เกลือประเภทนี้มีไอออนลบ OH- และไอออนบวก เช่น Pb(OH)Cl, Bi(OH)2Cl เป็นต้น

4.เกลือสองเชิง (Double salt)

เกิดจากเกลือปกติสองชนิดรวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ เช่น K2SO4 , Al(SO4)3.24H2O เป็นต้น

5.เกลือเชิงซ้อน (Complex salt)

ประกอบด้วยไอออนลบที่ไอออนเชิงซ้อน เช่น K3Fe(CN)6 เป็นต้น

การเรียกชื่อเกลือ

1.ให้อ่านโลหะแล้วตามด้วยอนุมูลกรด เช่น
NaCl = โซเดียมคลอไรด์
KI = โพแทศเซียมไอโอไดด์
MgS = แมกนีเซียมซัลไฟด์

ถ้าอนุมูลกรดมาจากกรดที่ลงท้ายด้วย ous ต้องเปลี่ยนเป็น ite แต่ถ้าลงท้ายด้วย ic ต้องเปลี่ยนเป็น ate เช่น

Na2CO3 = โซเดียมคาร์บอเนต
Ca3(PO4)2 = แคลเซียมฟอสเฟต
K2SO4 = โพแทสเซียมซัลเฟต
Na2SO4 = โซเดียมซัลเฟต


2.ถ้าโลหะมีเลขออกซิเดชัน (ประจุไฟฟ้า) มากกว่า 1 ค่าให้บอกไว้ในวงเล็บหลังโลหะนั้น แล้วอ่านตามด้วยอนุมูลกรด เช่น

Fe(NO3)2 = ไอร์ออน (II) ไนเตรต
Fe(NO3)3 = ไอร์ออน (III) ไนเตรต
SnCl2 = ทิน (II) คลอไรด์
SnCl4 = ทิน (IV) คลอไรด์

วิธีการเตรียมเกลือ

1.เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส

กรด + เบส เกลือ + น้ำ

เช่น HCl (aq) + NaOH (aq) NaCl (aq) + H2O (l)
H2SO4 (aq) + Ba(OH)2 (aq) BaSO4 (s) + 2H2O (l)

“เกลือที่เกิดจากกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน ไอออนบวกของเกลือจะมาจากเบส ส่วนไอออนลบของเกลือมาจากกรด”

เกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส แบ่งออกได้เป็น

1.1 เกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่ ตัวอย่างเช่น
- NaCl เกิดจากกรด HCl กับเบส NaOH,
HCl (aq) + NaOH (aq) NaCl (aq) + H2O (l)
- Ca(NO3)2 เกิดจาก HNO3 และ Ca(OH)2
HNO3 (aq) + Ca(OH)2 (aq) Ca(NO3)2(aq) + H2O (l)

1.2 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น
- NaClO เกิดจาก HClO และ NaOH
HClO (aq) + NaOH (aq) NaClO (aq) + H2O (l)
- Ba(C2H3O2)2 เกิดจาก C2H3O2H และ Ba(OH)2
C2H3O2H(aq) + Ba(OH)2(aq) Ba(C2H3O2)2(aq) + H2O (l)

1.3 เกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น
- NH4Cl เกิดจาก HCl กับ NH3
HCl (aq) + NH3 (g) NH4Cl (aq)
- Al(NO3)3 เกิดจาก HNO3 (aq) และ Al(OH)3 (aq)
HNO3 (aq) + Al(OH)3 (aq) Al(NO3)3(aq) + H2O (l)

1.4 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เช่น
- NH4CN เกิดจากกรด HCN กับเบส NH3
HCN(aq) + NH3 (g) NH4CN (aq)
- FeCO3 เกิดจากกรด H2CO3 (aq) กับเบส Fe(OH)2 (aq)
H2CO3 (aq) + Fe(OH)2 (aq) FeCO3(aq) + 2H2O (l)

 

2. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะกับกรด

โลหะ + กรด เกลือ + ก๊าซ
โลหะ + กรด เกลือ + น้ำ + ก๊าซ
เช่น
Mg (s) + 2HCl (aq) MgCl2 (aq) + H2 (g)
Zn(s) + H2SO4 (aq) ZnSO4 (aq) + H2 (g)
3Cu(s) + 8HNO3 (aq) 3Cu(NO3)2 (aq) + 4H2O (l) + 2NO (g)

3. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะออกไซด์กับกรด

โลหะออกไซด์ + กรด เกลือ + น้ำ

เช่น CaO (s) + H2SO4 (aq) CaSO4 (s) + H2O (l)
CuO (s) + H2SO4 (aq) CuSO4 (s) + H2O (l)
MgO (s) + 2HCl (aq) MgCl2 (aq) + H2O (l)

4. เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับกรด

FeS(s) + 2HCl (aq) FeCl2 (aq) + H2S (g)
Na2CO3 (s) + H2SO4 (aq) Na2SO4 (aq) + H2CO3 (aq)
NaHCO3 (s) + HCl(aq) NaCl(aq) + H2O (l) + CO2 (g)
BaCO3 (s) + 2HCl (aq) BaCl2 (aq) + H2O (l) + CO2 (g)

5.เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับเกลือ

NaCl (aq) + AgNO3 (aq) AgCl(s) + NaNO3 (aq)
BaCl2 (aq) + Na2SO4 (aq) BaSO4 (s) + 2NaCl (aq)
ZnCl2 (aq) + Na2S (aq) ZnS (s) + 2NaCl (aq)

6.โดยการรวมตัวกันโดยตรงของโลหะกับอโลหะ

2Na(s) + Cl2 (g) 2NaCl (aq)
Fe (s) + S (s) FeS

 

ประโยชน์ของเกลือ

เกลือหลายชนิดมีประโยชน์มากทั้งในชีวิตประจำวัน และในอุตสาหกรรม ดังแสดงในตาราง


ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนสมการ และเรียกชื่อเกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสาร ต่อไปนี้
ก. กรดคาร์บอนิก กับแคลเซียมไฮดรอกไซด์
ข. โซเดียมซัลไฟด์กับกรดซัลฟิวริก
ค. เหล็กกับกรดไฮโดรคลอริก
วิธีทำ
ก. H2CO3 (aq) + Ca(OH)2 (aq) CaCO3 (s) + 2H2O (l)
                                               แคลเซียมคาร์บอเนต
ข. Na2S (s) + H2SO4 (aq) Na2SO4 (aq) + H2S (g)
                                           โซเดียมซัลเฟต
หรืออาจเกิดปฏิกิริยาได้อีกแบบหนึ่งดังนี้
Na2S (s) + 2H2SO4 (aq) 2NaHSO4 (aq) + H2S (g)
                                   โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต
ค. Fe(s) + 2HCl(aq) FeCl2 (aq) + H2 (g)
                             ไอร์ออน(II) คลอไรด์

ตัวอย่างที่ 2 จะต้องใช้สาระลายกรดและเบสคู่ใดทำปฏิกิริยากันจึงจะได้เกลือต่อไปนี้
ก. KBr
ข. NH4NO3
ค. BaSO4
ง. NH4HCO3
วิธีทำ
ก. KOH (aq) + HBr (aq) KBr (aq) + H2O (l)
ข. NH4OH (aq) + HNO3 (aq) NH4NO3 (aq) + H2O (l)
ค. H2SO4 (aq) + Ba(OH)2 (aq) BaSO4 (s) + 2H2O (l)
ง. H2CO3 (aq) + NH4OH (aq) NH4HCO3 (aq) + H2O (l)

ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนสมการแสดงปฏิกิริยา ระหว่างสารต่อไปนี้พร้อมทั้งเรียกชื่อเกลือที่เกิดขึ้นด้วย
ก. CH3COOH กับ Ca(OH)2
ข. HCl กับ Na2CO3
ค. H2SO4 กับ NaOH
วิธีทำ
ก. 2CH3COOH (aq) + Ca(OH)2 (aq) (CH3COO)2Ca (aq) + 2H2O (l)
                                                            แคลเซียมแอซิเตต
ข. 2HCl (aq) + Na2CO3 (s) 2NaCl (aq) + H2O (l) + CO2 (g)
                                             โซเดียมคลอไรด์
ค. H2SO4 (aq) + NaOH (aq) NaHSO4 (aq) + H2O (l)
                                        โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต
หรือ
H2SO4 (aq) + 2NaOH (aq) Na2SO4 (aq) + 2H2O (l)
                                              โซเดียมซัลเฟต

 

ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ (Hydrolysis of Salts)

ไฮโดรลิซิส หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างสาร(เกลือ) กับน้ำ
ไฮโดรลิซิสของเกลือ หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างเกลือกับน้ำ เกลือเป็นอิเล็กทรอไลต์แก่ เมื่อเกลือละลายในน้ำ เกลือจะแตกตัวออกเป็นไอออนบวกและไอออนลบทั้งหมด ดังนั้น สมบัติของสารละลายของเกลือ จึงขึ้นอยู่กับไอออนบวกและไอออนลบในสารละลายนั้น ไอออนบางตัวสามารถที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำและให้ H+ หรือ OH- ได้ ปฏิกิริยานี้จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส เช่น
- ไอออนลบ เช่น X- เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเขียนสมการได้ดังนี้

X- (aq) + H2O (l) HX (aq) + OH- (aq)

จะเห็นว่าจากปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของไอออนลบ X- (aq) ที่เกิดขึ้น X- (aq) จะรับ H+ จากน้ำแล้วได้ OH- (aq) ดังนั้นสารละลายที่ได้จึงมีสมบัติเป็นเบส
- สำหรับไอออนบวก เช่น NH4+(aq) เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเขียนสมการได้ดังนี้

NH4+ (aq) + H2O(l) NH3 (g) + H3O+ (aq)

จะเห็นว่าจากปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของไอออนบวก NH4+(aq) ที่เกิดขึ้น NH4+(aq) จะให้โปรตอนกับ H2O (l) แล้วได้ H3O+ (aq) ดังนั้นสารละลายที่ได้จึงมีสมบัติเป็นกรด
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า “ถ้าไอออนลบของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส และถ้าไอออนบวกของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส จะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นกรด”

-  การพิจารณาว่าไอออนลบใดจะเกิดไฮโดรลิซิสหรือไม่นั้นมีหลักพิจารณาดังนี้
1. ถ้าเป็นไอออนลบของกรดแก่ เช่น Cl-, Br- , I- , NO3- , และ ClO4- จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังนั้น จะไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
2. ไอออนลบของกรดอ่อน เช่น CH3COO- , ClO- , CN- , และ CO32- สามารถรับโปรตอนจากน้ำเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้สารละลายที่เป็นเบส เช่น ปฏิกิริยาของ CH3COO- กับน้ำ

CH3COO- (aq) + H2O (l) CH3COOH (aq) + OH- (aq)

-  การพิจารณาว่าไอออนบวกใดจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสหรือไม่มีหลักพิจารณาดังนี้
1. ไอออนบวกของโลหะหมู่ IA หรือ IIA (ยกเว้น Be) ได้แก่ Li+ , Na+ , K+ , Mg2+ , Ca2+ และ Ba2+ จะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส รวมทั้งไอออนบวกของเบสแก่ทั้งหมด
2. แอมโมเนียมไอออนของเกลือแอมโมเนียมจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และทำให้สารละลายเป็นกรด

1. การไฮโดรลิซิสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่

เกลือประเภทนี้เมื่อละลายในน้ำจะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสกับน้ำ ทั้งนี้เพราะ ทั้งไอออนบวกที่มาจากเบสแก่ และไอออนลบที่มจากกรดแก่ ต่างก็ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น NaCl เมื่อละลายน้ำได้ Na+ และ Cl- ทั้ง Na+ ซึ่งมาจากเบสแก่ และ Cl- ซึ่งมาจากกรดแก่ HCl จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ไม่มีผลต่อค่า pH ของสารละลาย สารละลายจึงเป็นกลาง คือมี [H3O+] และ [OH-] ที่แตกตัวจากน้ำมีปริมาณเท่ากัน pH ของสารละลายเท่ากับ 7

2. การไฮโดรลิซิสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่

เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะได้ไอออนลบที่มาจากกรดอ่อนที่มีสมบัติเป็นคู่เบสที่แรงพอสมควร ไอออนลบที่เกิดขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสกับน้ำได้ OH- ทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส
ตัวอย่างเช่น NaClO เมื่อละลายน้ำจะให้ Na+ และ ClO- ดังนี้

NaClO (s) Na+ (aq) + ClO- (aq)
ClO- จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส โดยรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น HClO และ OH- ตามสมการ

ClO- (aq) + H2O (l) HClO (aq) + OH- (aq)

สำหรับ Na+ (aq) ไอออน ซึ่งมาจากเบสแก่ NaOH ไม่เกิดการไฮโดรลิซิส
ดังนั้นสารละลายที่เกิดจากการละลายของเกลือ NaClO ในน้ำแล้วเกิดการไฮโดรลิซิสของ ClO- (aq) จะได้ OH- ไอออน จึงแสดงสมบัติเป็นเบส pH ของสารละลายมีค่ามากกว่า 7

3. การไฮโดรลิซิสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน

เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะให้ไอออนบวกที่มาจากเบสที่เป็นคู่กรด ที่มีความแรงพอสมควร ไอออนบวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสกับน้ำให้ H3O+ ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
ส่วนไอออนลบซึ่งมาจากกรดแก่ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ตัวอย่างเช่น
NH4Cl ซึ่งเกิดจากกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH3
NH4Cl แตกตัวในน้ำได้ NH4+ และ Cl- ทั้งหมด

NH4Cl (aq) NH4+ (aq) + Cl- (aq)

Cl- ไม่เกิดการไฮโดรลิซิส แต่ NH4+ เกิดไฮโดรลิซิส โดย NH4+ จะให้โปรตอนกับ H2O ได้เป็น NH3(aq) และ H3O+ (aq) ดังสมการ

NH4+ (aq) + H2O (l) NH3 (aq) + H3O+ (aq)

จะเห็นได้ว่าผลจากการไฮโดรลิซิสของ NH4Cl จะได้ H3O+ ดังนั้นสารละลายของเกลือ NH4Cl จึงแสดงสมบัติเป็นกรด pH ของสารละลายมีค่าน้อยกว่า 7

4.การไฮโดรลิซิสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน

เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่งไอออนทั้งสองนี้ สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ทั้งคู่ ไอออนบวกของเกลือจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ H3O+ ส่วนไอออนลบได้ OH- ดังนั้นความเป็นกรด-เบสของสารละลายจึงขึ้นอยู่กับว่าไอออนบวกหรือไอออนลบเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสได้ดีกว่ากัน โดยพิจารณาจากค่าคงที่ของการแตกตัวของคู่เบส (Kb>) (ไอออนลบ) หรือค่าคงที่การแตกตัวของคู่กรด Ka (ไอออนบวก)
ตัวอย่างเช่น เกลือ NH4CN ที่เกิดจากกรดอ่อน HCN และเบสอ่อน NH4OH
NH4OH แตกตัวในน้ำให้ NH4+ และ CN- ดังสมการ

NH4CN (aq) NH4+(aq) + CN-(aq)

NH4+ และ CN- เกิดปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสดังนี้

NH4+ (aq) + H2O (l) NH3 (aq) + H3O+(aq) ; Ka = 5.6 x 10-10
CN- (aq) + H2O (l) HCN (aq) + OH- (aq) ; Kb = 5.6 x 10-5

เนื่องจาก ค่า Kb> Ka ดังนั้นแสดงว่า CN- เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสให้ OH- ได้ดีกว่า NH4+ ดังนั้น [OH-] > [NH3] สารละลายของเกลือ NH4CN จึงแสดงสมบัติเป็นเบส pH มีค่ามากกว่า 7

ตัวอย่างที่ 4 จงเขียนสมการแสดงการละลายน้ำของเกลือโซเดียมแอซิเตต และให้บอกว่าสารละลายเป็นกรดหรือเบส
วิธีทำ
เกลือโซเดียมแอซิเตต มีสูตรโมเลกุลเป็น CH3COONa เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ Na+ และ CH3COO- หมดดังสมการ

CH3COONa (s) Na+ (aq) + CH3COO- (aq)
Na+ ไอออน ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส
CH3COO- เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส โดย CH3COO- รับโปรตอนจากน้ำได้เป็นกรดแอซิติก

CH3COO- (aq) + H2O (l) CH3COOH (aq) + OH- (aq)

จะเห็นว่าผลจากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ OH- ดังนั้นสารละลายของเกลือโซเดียมแอซิเตตจึงมีสมบัติเป็นเบส


ตัวอย่างที่ 5
   F- ไอออนเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสหรือไม่ ถ้าเกิดสารละลายเป็นกรดหรือเบส
วิธีทำ F- ไอออนเป็นไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อน HF ดังนั้น F- ไอออนเป็นคู่เบสที่มีความแรงเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจึงสามารถรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น HF และ OH- ดังสมการ

F- (aq) + H2O (l) HF(aq) + OH- (aq)

จะเห็นได้ว่าผลจากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของ F- จะได้ OH- ดังนั้นสารละลายจึงแสดงสมบัติความเป็นเบส

ตัวอย่างที่ 6   NH4Br เมื่อละลายน้ำจะมีผลต่อค่า pH ของสารละลายอย่างไร ?
วิธีทำ NH4Br ละลายในน้ำจะแตกตัวให้NH4+ และ Br-
NH4Br (s) NH4+ (aq) + Br- (aq)
Br- มาจากกรดแก่ HBr จึงไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส
NH4+ เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ H3O+ ทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นกรดโดย ให้ H+ กับน้ำได้ NH3 (aq) และ H3O+ (aq) ดังนี้

NH4+ (aq) + H2O (l) NH3(aq) + H3O+ (aq)

5.การไฮโดรลิซิสของไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก

ไอออนลบของเกลือที่เกิดจากกรดพอลิโปรติก เช่น CO32- , PO43- สามารถเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสได้หลายขั้น เนื่องจากสามารถรับ H+ จาก H2O ได้มากกว่า 1 โปรตอน เช่น
ปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสของเกลือ Na2CO3 (s)
เมื่อ เกลือ Na2CO3 (s) ละลายน้ำ จะเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้หมด คือ

Na2CO3 (s) Na+ (aq) + CO32-(aq)

Na+ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส เนื่องจากมาจาก เบสแก่ NaOH
CO32- (aq) เกิดปฏิกิริยาการไฮโดรลิซิสได้ 2 ขั้นตอนดังนี้

CO32- (aq) + H2O (l) HCO3- (aq) + OH- (aq)
และ HCO3- (aq) + H2O (l) H2CO3 (aq) + OH- (aq)

 


  แบบฝึกหัด

   หน่วยที่ 4 : เรื่องปฏิกิริยาของกรดและเบส