Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   การสืบพันธุ์ของสัตว์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
         สิ่งมีชีวิตแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต คือ มีสามารถในการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตใหม่ จากสิ่งมีชีวิตเดิมซึ่งเป็นสมบัติ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่ทำให้ สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงพันธุ์ให้คงไว้ได้

          การสืบพันธุ์ของสัตว์ม ีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ

  • การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ในสัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกาย ไม่ซับซ้อน และม ความสามารถในการงอกใหม่ เช่น พลานาเรีย ดาวทะเล สัตว์พวกนี้สามารถสืบพันธุ์โดยวิธีการงอกใหม่
  • การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เกิดจากการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิ กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือเซลล์ไข่ซึ่งอาจเกิดภายใน หรือภายนอกเพศเมียก็ ได้เซลล์ไข่ ที่ได้รับการผสมเรียกว่า ไซโกต
 
  การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

          สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ การไม่อาศัยเพศส่วนใหญ่ เป็นการแบ่งเซลล์เป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เช่น อะมีบา สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด สืบพันธุ์โดย การแตกหน่อ เช่น ยีสต์

 
ที่มาภาพ : http://school.obec.go.th/njw/education/biology/chapter05/index_l05_p12.html
 
  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของสัตว์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เพียงแต่สร้างตัวจำลองตนเอง โดยมีคุณสมบัติ และพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมทุกประการ คือ มีการแสดงออกหรือฟีโนไทน์เหมือนเดิมและลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุก ประการ การสืบพันธุ์แบบนี้ มีหลายวิธี การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ ได้แก่
 
  การแบ่งแยก (FISSION)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

          การแบ่งแยก เป็น การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น โพรโทซัว แบคทีเรีย ยีสต์ และสาหร่าย ระหว่างที่มีการแบ่งแยก จะมีการแบ่งสารพันธุกรรมด้วย ขบวนการนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. แบ่งแยกเป็นสอง (BINARY FISSION) จากหนึ่งเซลล์แบ่งได้เป็น 2 เซลล์ และ 4 เซลล์ต่อไปเรื่อยๆ
  2. การแบ่งแยกทวีคูณ (MULTIPLE FISSION) นิวเคลียส จะมีการแบ่งแบบไมโตซีสหลายครั้ง ได้นิวเคลียสหลายอัน แล้วจึงแบ่งไซโตพลาซึม ได้เป็นหลายเซลล์ จะเกิดในพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ในเชื้อมาเลเรียบางระยะ และในอมีบาบางชนิดในระยะเป็นตัวหนอนของฟองน้ำ และปลา ดาวบางชนิด

 

ที่มาภาพ : http://www.tutorvista.com/ content/ biology/ biology-iv/reproduction-in-animals/ asexual-reproduction-types.phpml

 
 
  การแตกหน่อ (BUDDING)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
   

          การแตกหน่อ การสืบพันธุ์แบบนี้ หน่อเดิมจะมีการแบ่งเซลล์ ได้หน่อใหม่ (BUD) เกิดขึ้นและยังติดอยู่กับหน่อเดิม มีรูปร่าง เหมือนหน่อเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า การแตกหน่อพบได้ใน พืชเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ ในพืชหลายเซลล์ เช่น มาร์เเชนเทีย (MARCHANTIA) ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำ พวกตะไคร่ชนิดหนึ่ง (หรือเรียกลิเวอร์เวิธ) และ ต้นตีนตุ๊กแก ต้นตายใบเป็น ส่วนใน สัตว์หลายเซลล์ ได้แก่ ไฮดรา

 

ที่มาภาพ : http://www.tutorvista.com/ content/ biology/ biology-iv/reproduction-in-animals/ asexual-reproduction-types.phpml

 
 
  การหัก (FRAGMENTATION)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

          การสืบพันธุ์แบบนี้ ชิ้นส่วนของพ่อแม ่จะแยกออก แล้วเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ได้แก่ ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/ reuxngpakarang/khwam- ru-keiyw-kab-pakarang/kar-subphanthu-baeb-mi-xasay-phes

 
 
  การสร้างใหม่ (REGENERATION)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

          การสร้างใหม่ (REGENERATION) การสืบพันธุ์แบบสร้างใหม่คล้าย การหัก แต่ต่างกันตรงที่ การสร้างใหม่เป็นการเจริญ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่ขาดหายไป เนื่องจากได้รับความเสียหายจากภายนอก วิธีนี้สิ่งมีชีวิต ที่ถูกตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นจะสามารถงอก เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ได้ เช่น ในชิ้นส่วน ของพืชเกือบทุกชนิด ในไส้เดือนดิน ฟองน้ำไฮดรา และปลาดาว พลานาเรีย ซึ่งเป็นหนอนตัวแบนชนิดหนึ่ง เมื่อถูกตัด ออกเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนจะเจริญเป็นตัวที่สมบูรณ์ได้

 

ที่มาภาพ : http://www.myfirstbrain.com/ thaidata/image.asp?ID=1650214

 
 
  การสร้างสปอร์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

          สปอร์จัดเป็นหน่วยสืบพันธุ์อย่างหนึ่ง ปกติสปอร์มักจะมีผนังหนา จึงทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้ง นอกจากนี้สปอร์ยังมีขนาดเล็ก เหมาะที่จะกระจายไปในอากาศ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะปล่อยสปอร์เป็นจำนวนมาก ในพวกเห็ดราบางชนิด สปอร์เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ และแบบมีเพศในพืชพวกเมทาไฟตา มีการสร้างสปอร์ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของการสืบพันธุ์แบบสลับด้วย

 

 

ที่มาภาพ : http://www.excellup.com/ classten/ scienceten/ reproductionten.aspx

 
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี