Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

อวัยวะที่สำคัญของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
ที่มาภาพ : http://usmanscience.com/ 12bio/ classnotes/ respiratory_system_anatomy_files/ image004.jpg

 

  1. รังไข่ (Ovary) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2-36 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม และมี 2 อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างทำหน้าที่ ดังนี้

    - ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เมื่อตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาร 24 ชั่วโมง

    - สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่
    • อีสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิด ลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอกและอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น

    • โพรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับ อีสโทรเจน ในการควบคุมเกี่ยวกับเกี่ยวกับ การเจิญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก เพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว

  2. ท่อนำไข่ (Oviduct) หรือปีกมดลูก (Fallopian Tube) เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ภายในกลวง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดปกติเท่ากับ เข็มถักไหมพรมยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมรปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร (Funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้นๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจาก รังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่

  3. มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู หรือรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกราน ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ภายในเป็นโพรง ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์

  4. ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารก เมื่อครบกำหนดคลอด และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาด้วย
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

        ประจำเดือน (Menstruation) คือเนื้อเยื่อผนังมดลูกด้านใน และหลอดเลือดที่สลายตัว ไหลออกมาทางช่องคลอด ประจำเดือนจะเกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไม่ได้รับ การผสมกับอสุจิ เพศหญิงจะมีประจำเดือน ตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีรอบของ การมีประจำเดือนทุก 21-35 วัน เฉลี่ยประมาณ 28 วัน จนอายุประมาณ 50 ปี จึงจะหมดประจำเดือน

        ผู้หญิงจะมีช่วงระยะเวลาการมีประจำเดือนประมาณ 3 -6 วัน ซึ่งจะเสียเลือด ทางประจำเดือน แต่ละเดือนประมาณ 60-90  ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นผู้หญิง จึงควร รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก และโปรตีน เพื่อสร้างเลือด ชดเชยส่วนที่เสียไป

ที่มาภาพ : http://vivasemmenstruar. com.br/ wp-content/themes/ twentyeleven/ images/ utero4.gif
   

          การที่ผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเนื่องมาจากอารมณ์ และความวิตกกังวล ทำให้ การหลั่งฮอร์โมน ของสมองผิดปกติ ซึ่งจะมีผล ต่อการหลั่งฮอร์โมน ของต่อมใต้สมอง ที่ทำหน้าที่ กระตุ้น ให้ไข่สุก คือ ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating  Hormone) และฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่า เซลล์อสุจิประมาณ 50,000-90,000 เท่า ขนาดของเซลล์ไข่ ประมาณ 0.2 มิลลิเมตร เราสามารถมองเห็นเซลล์ไข่ได้ ด้วยตาเปล่า


ที่มาภาพ : http://3.bp.blogspot.com/ -dcRydIkJNxs/T82XzTIy0xI/AAAAAAAAAFQ/ B9qfIYEjzrY/s1600/ %E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B8%94+2.gif

 

 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี