Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
  ระบบย่อยอาหารของแมลง

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ปากของแมลง มีการเปลี่ยนแปลง และแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสม กับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหาร ที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard) ช่วยในการกรอง และบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ 8 อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋น และกระเพาะอาหาร
   

ที่มาภาพ : http://www.pw.ac.th/ main/ website/sci/ 2_data.htm

 
        ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้ 
 
    ปาก หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหาร กึ๋น  
                 
    ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร  
 
  ระบบย่อยอาหารของปลา

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   

ที่มาภาพ : http://www.pw.ac.th/main/ website/sci/ 2_data.htm

 
        ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับได้ดังนี้ 
 
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทวารหนัก
 
 
  ระบบย่อยอาหารของไฮดรา

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria ชื่อวิทยาศาสตร์: Cnidaria หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอเรต (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coelenterate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา)
   

ที่มาภาพ : http://www.pw.ac.th/ main/ website/sci/ 2_data.htm

 
 

          ไฮดรา มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่า หนวดจับ Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆ และใช้เซลล์ที่มี นีมาโทซิสต์ Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity) ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่า ชั้นแกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย

  1. เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland Cell ส่วนปลายมีแฟลเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion)
  2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งอกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี