Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
 

ที่มาภาพ : http://www.med.cmu.ac.th/dept/ vascular/human/lesson/diges9.jpg

 

 
         เมื่อรับประทานอาหารอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารเพื่อเกิดการย่อยตามลำดับดังต่อไปนี้     
 

ที่มาภาพ : http://en.docsity.com/news/education-2/systems-human-body-interactive-gifs

 

 
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก
 
  ปาก (mouth)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          ปาก มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมี โดยเอนไซม์อะไมเลส หรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดี ในสภาพที่ เป็นเบสเล็กน้อย 
  แป้ง น้ำตาลมอลโตส (maltose)  
   
 

ต่อมน้ำลาย มี 3 คู่ ได้แก่

  • ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่
  • ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่
  • ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่

ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ     1 – 1.5 ลิตร 

   
ที่มาภาพ : http://www.med.cmu.ac.th/dept/ vascular/human/lesson/diges9.jpg
 
   คอหอย (pharynx)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          คอหอย  เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น 
ที่มาภาพ : http://livingcreaturesbsru.files.wordpress.com/2011/09/untitled1.pngm
 
   หลอดอาหาร (esophagus)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
           หลอดอาหาร มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ มีการย่อยเชิงกล โดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาห ารเป็นช่วงๆ เรียกว่า "เพอริสตัสซิส" (peristalsis) เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร
 
 
ที่มาภาพ :
http://www.gastrosource2.com/images/esofagus/ normal/esofagus_23720_150_1c1.JPG
  ที่มาภาพ : http://f.ptcdn.info/052/020/000/ 1402636263-page3clipi-o.jpgm
       
  ที่มาภาพ : http://www.aki.che.tohoku.ac.jp/~okushi/PK_HP_E/06.gif  
       
   กระเพาะอาหาร (stomach)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
    กระเพาะอาหาร มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด
 
 
ที่มาภาพ: http://www.myfirstbrain.com/thaidata/ image.asp?ID=1485590   ที่มาภาพ : http://www.kolumbus.fi/hans/gastrolab/feb22.jpg
       
  ที่มาภาพ : http://stream1.gifsoup.com/view6/3570861/peristalsis-in-stomach-o.gif  
       
           ชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบ เอนไซม์เพปซิน จะย่อยโปรตีน ให้เป็นเพปไทด์ (peptide) ในกระเพาะอาหารนี้ ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า "เรนนิน" ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า
 
    เพปซิน    
  โปรตีน เพปไทด์  
 
สรุป การย่อยที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี