Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
  ลำไส้เล็ก (small intestine)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

      ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่มีการย่อย และการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ ในลำไส้เล็กจะทำงาน ได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่

  1. มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทส ให้เป็นกลูโคส
  2. ซูเครส (sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ ฟรักโทส (fructose)
  3. แล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)
 
ที่มาภาพ :http://1.bp.blogspot.com/-H4uT47UoaRk/UCy8YsYtoCI/ AAAAAAAAATo/ PG0W1U9HTzs/s1600/kamil-habbatussauda_smallintestine.jpg
 

          การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้ เอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) มาช่วยย่อย เช่น

  • ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
  • อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
  • ไลเปส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

          น้ำดี (bile) เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์ เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน น้ำดีจะทำหน้าที่ ย่อยโมเลกุล ของโปรตีน ให้เล็กลง แล้วน้ำย่อยจากตับอ่อน จะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุด ที่สามารถ แพร่เข้าสู่เซลล์

 
ที่มาภาพ : http://www.sopon.ac.th/ sopon/ sema_web/ secondary5/ health_educ/ lesson1respiratory/ The%20Human%20Body__digestion_files/diges8.jpg
   
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

         สรุปการย่อยสารอาหารประเภทต่างๆในลำไส้เล็ก
 
 
 
คาร์โบไฮเดรต      
  อะไมเลส    
แป้ง มอลโทส  
       
  มอลเทส    
มอลโทส กลูโคส + กลูโคส  
       
  ซูเครส    
ซูโครส กลูโคส + ฟรักโทส  
       
  แล็กเทส    
แล็กโทส กลูโคส + กาแล็กโทส  
 
โปรตีน      
  ทริปซิน    
เพปไทด์ กรดอะมิโน  
 
ไขมัน          
      ไลเทส    
ไขมัน - น้ำดี ย่อยโมเลกุลของไขมันขนาดเล็ก กรดไขมัน + กลีเซอรอล  
 
   
       อาหารเมื่อถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยโครงสร้างที่เรียกว่า “ วิลลัส” (villus) ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจาก ผนังลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เพิ่มเพิ่มพื้นที่ผิว ในการดูดซึมอาหาร

 

 
ที่มาภาพ . http://thefooddoc.com/yahoo_site_admin1/ assets/images/NORMALSMALLINTESTINE.18165350_large.jpg
 
  ลำไส้ใหญ่ (large intestine )

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          ลำไส้ใหญ่ ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหาร และดูดซึมน้ำออกจาก กากอาหาร ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระ เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน จะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร
 
 
ที่มาภาพ :
http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=402131
  ที่มาภาพ :http://www.myfirstbrain.com/thaidata /image.asp?ID=1486364
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี