1.การทำบัญชี (Book Keeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Book Keeper) ซึ่งมีขั้นตอนของการปฏิบัติดังนี้ |
1.1 การรวบรวม(Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าทีเกิดขึ้นประจำวัน และหลักฐานที่เกี่ยวกับการดำเนิน ธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการรับเงินและจ่ายเงิน เป็นต้น |
1.2 การจดบันทึก(Recording) หมายถึง การนำรายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาบันทึกลงในสมุดรายวันขั้นต้นให้ถูกต้อง ตามหลัก การบัญชีที่รับรองทั่วไป
โดยเรียงรายการตามลำดับก่อนหลัง และมีเอกสารประกอบ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น |
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำรายการค้าที่บันทึกลงในสมุดรายวันขั้นต้นมาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของประเภท บัญชีต่างๆ
เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย |
1.4 การสรุปผลข้อมูล (Summarizing) หมายถึง การนำประเภทหมวดหมู่ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นจากการบันทึกรายการค้านั้นๆ เพื่อให้ทราบผล
ของการดำเนินงานของกิจการ จะสรุปผลออกมาทางรูปแบบงบการเงิน คือ “งบกำไรขาดทุน” และถ้าต้องการทราบ ฐานะการเงิน ของกิจการ ก็จะสรุปผลออกมา
ทางรูปแบบงบการเงินเช่นเดียวกันคือ “งบดุล” |
2.การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อมูลทางการเงินยัง สามารถ
นำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงบัญชี เป็นต้น |
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี
|
1. เพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้ |
2. เพื่อช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมากิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวน เท่าใด |
3. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ |
4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ |
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกประเภทของรายการค้าไว้ |
6. เพื่อถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่าง ๆ |
ประโยชน์ของการบัญชี |
1. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ |
2. เพื่อช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจ |
3. เพื่อช่วยในการวางแผนกำไร และควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ |
4. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการหาแหล่งเงินทุน |
5. เพื่อให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และเป็นสัญญาณเตือนภัยของกิจการ |
6. เพื่อประโยชน์ในการวางแผน เพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและประหยัด |
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี (Assumption) |
แม่บทการบัญชี ไม่ถือเป็นมาตรฐานการบัญชี แต่เป็นกรอบหรือแนวคิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินตลอดจนกำหนด และนำ มาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทุกฝ่ายมีความเข้าใจ และปฏิบัติในแนวทาง
เดียวกันแม่บทการบัญชีสำหรับการจัดทำและนำเสนองบการเงินมีหลายข้อในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อให้สอดคล้อง กับวิชา |
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี |
1. เกณฑ์คงค้าง (Accrual basis) เป็นเกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน โดยการบันทึกบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายด้วยการยึดหลักว่ารายได้ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ในงวดบัญชีใดให้ถือเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีนั้นๆ ไม่ว่าจะรับหรือจ่ายเป็นเงินสดหรือไม่ก็ตาม
งบการเงินที่จัดทำขึ้นตามเกณฑ์คงค้างจะแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานได้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามงวดบัญชีที่เกิดขึ้นและแสดงข้อมูล เกี่ยวกับ
ภาระผูกพันที่กิจการต้องรับหรือจ่ายเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้ เจ้าหนี้ รายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น |
2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) เป็นข้อสมมติที่กล่าวถึงกิจการที่จัดตั้งตามวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไป ในอนาคต
หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะเลิกกิจการของการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่นและต้อง เปิดเผยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในงบ
การเงินนั้น |