กิจกรรมดูนก


จุดประสงค์
      เพิ่มความรู้รอบตัว ฝึกทักษะการสังเกตลักษณะของนก ปลูกฝังความรักธรรมชาติ และการทำตัวให้เข้ากับธรรมชาติ

สาระสำคัญ
      นกในเมืองไทยมีมากกว่า 900 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้เป็นนกพันธุ์พื้นบ้านที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปมากกว่า 100 ชนิด นักเรียนควรรู้จักเรียกชื่อนกได้ถูกต้องไม่น้อยกว่า 25 ชนิด เพื่อเป็นความรู้รอบตัว

เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง

ระดับชั้นเรียน ทุกระดับ

แนวความคิดหลักที่สำคัญ

      ลักษณะของนก
      การเรียกชื่อนก
      การใช้กล้องส่องทางไกล
      การจดบันทึก

ทักษะ
       การสังเกต
       การจำแนกลักษณะของนก
       การใช้แผนภาพนก
       การใช้กล้องส่องทางไกล

วัสดุและอุปกรณ์
       กล้องส่องทางไกล
       แผนภาพนก
       อุปกรณ์ในการจดบันทึก

สถานที่
      แหล่งดูนกควรเป็นสถานีที่โล่งและมีต้นไม้มาก แหล่งดูนกที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เขาใหญ่ กำแพงแสน ทะเลน้อย บึงบรเพ็ด อุทยานแห่งชาติ และนาข้าวทั่วประเทศ

วิธีปฏิบัติ
      1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ไม่เกิน 5 คน
      2. แจกแผนภาพนกพื้นบ้านของไทย และกล้องส่องทางไกล ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
      3. คุณครูอธิบายวิธีการใช้กล้องส่องทางไกล (เอกสารอยู่ในแผ่นซีดี LESA)
      4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม แยกย้ายกันสังเกตการณ์ในพื้นที่ ด้วยความเงียบ ทำการจดบันทึกนกที่พบเห็น วาดรูป ฟังเสียง และสังเกตกิจกรรมของนก อย่าลืมระบุเวลา และสถานที่สิ่งแวดล้อมที่พบลงไปด้วย
      5. เมื่อเสร็จกิจกรรม ให้นักเรียนรวมกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็นถึงนกแต่ละชนิดที่ได้พบเห็น