Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   การขับถ่ายของเสียทางไต

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
           ไต (Kidney) ทำหน้าที่ กำจัดของเสีย ในรูปของ น้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้าย เม็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้าง ของกระดูกสันหลัง ระดับเอว ถ้าผ่าตามยาว จะพบว่าไตประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอก กับเปลือกไตชั้นใน มีขนาดยาว ประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไต มีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีท่อไตต่อไป ยังกระเพาะปัสสาวะ
 

ที่มาภาพ : http://www.webmd.com/kidney-stones/ss/slideshow-kidney-stones-overview
 
          ไตแต่ละข้างประกอบด้วย หน่วยไตนับล้านหน่วย เป็นท่อที่ขดไปมา โดยมีปลายท่อข้างหนึ่งตัน เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “โบว์แมนส์แคปซูล(Bowman’s Capsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วย ภายในแอ่ง จะมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุก เรียกว่า “โกลเมอรูลัส (Glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสีย ออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต
 
ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/rungnaphasaengsai/bth-thi-1/1-4-rabb-khab-thay
 
          ที่บริเวณของหน่วยไต มีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุ น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโน รวมทั้งน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดฝอย และเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ ที่เหลือก็คือ ปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามท่อไต เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่กระเพาะปัสสาวะสามารถที่จะหดตัว ขับปัสสาวะออกมาได้ เมื่อมีปัสสาวะมาขังอยู่ประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในแต่ละวันร่างกายจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร

          เมื่อไตผิดปกติจะทำให้ สารบางชนิดออกมาปนกับปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง กรดแอมิโน น้ำตาลกลูโคส ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียม หรืออาจจะใช้การปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยที่ไต ไม่สามารถทำงานปกติได้

 
 
  ที่มาภาพ : http://stream1.gifsoup.com/ view1/4516155/kidney-o.gif
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี