เทห์วัตถุท้องฟ้า

          ในเวลาค่ำคืนที่ฟ้าใสไร้เมฆ ปราศจากแสงรบกวน หากแหงนหน้ามองดูท้องฟ้าด้วยตาเปล่า จะ
พบเทห์วัตถุท้องฟ้า (Celestial objects) นานาชนิด มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ อยู่ห่างจากตัวเราด้วยระยะ
ทางที่ต่างกัน นับตั้งแต่ ดวงจันทร์ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 386,000 กิโลเมตร ไปจนถึงกาแล็กซีแอนโดรเมดา ซึ่งอยู่ห่างออกไป 2.3 ล้านปีแสง (1 ปีแสง = ระยะทางซึ่งแสงใช้เวลานาน 1 ปี หรือ 9.5 ล้านล้าน
กิโลเมตร)

ระบบสุริยะ (Solar system)

ดวงอาทิตย์ (The Sun)
เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ตรงกลางระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์เป็นบริวารโคจรล้อมรอบ อุณหภูมิที่ใจกลางของดวงอาทิตย์สูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส เนื่องจากอะตอม
ของไฮโดรเจนรวมตัวเป็นฮีเลียม อุณหภูมิพื้นผิว 5,800°C ดวงอาทิตย์มีขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร
ดาวเคราะห์ (Planet)
เป็นบริวารของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรามี 8 ดวง แบ่งเป็น
ดาวเคราะห์แข็ง (พุธ ศุกร์ โลก อังคาร) และดาวเคราะห์ก๊าซ (พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4,880 กิโลเมตร (ดาวพุธ) ถึง 142,984 กิโลเมตร (ดาวพฤหัสบดี)
ดวงจันทร์ (Satellite)
เป็นบริวารของดาวเคราะห์อีกทีหนึ่ง โลกมีดวงจันทร์ 1 ดวง แต่ดาวเคราะห์ยักษ์ เช่น ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์มากกว่า 20 ดวง ดวงจันทร์มีหลายขนาด ตั้งแต่ 12 กิโลเมตร จนถึง 5,262 กิโลเมตร ดวงจันทร์ของโลกมีชื่อว่า "The Moon" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร

ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet)
เป็นวัตถุรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ มีขนาดประมาณ
400 - 2400 กิโลเมตร และมีวงโคจรซ้อนทับกับดาวดวงอื่น แต่ไม่อยู่ในระนาบ
สุริยวิถี ตัวอย่างเช่น ดาวพลูโต เป็นต้น

ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid)
เป็นบริวารขนาดเล็กของระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ 1 กิโลเมตร จนถึง 400 กิโลเมตร ส่วนมากจะอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับวงโคจรของดาว
พฤหัสบดี วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยบางดวง มีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของ
โลกในบางครั้งเศษฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อย ถูกดูดให้ตกลงเสียดสีกับบรรยากาศ
โลก ลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็น "ฝนดาวตก" (Meteor shower)

ดาวหาง (Comet)
เป็นบริวารชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ มีองค์ประกอบเป็นหินปนน้ำแข็ง มีวงโคจร
รีมาก เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจะทำให้น้ำแข็งระเหิดเป็นไอ ลม
สุริยะพัดให้ก๊าซและฝุ่น พุ่งเป็นหางยาว วงโคจรของดาวหางเป็นวงรีมากบาง
ดวงมีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของโลก เศษฝุ่นจากดาวหาง ถูกดูดให้ตกลง เสียดสีกับบรรยากาศโลก ลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็น "ฝนดาวตก"
(Meteor shower)


อุกกาบาต (Meteoroid) และ ดาวตก (Meteor)
อุกกาบาต หมายถึงเศษวัตถุขนาดเล็กในอวกาศ(ส่วนใหญ่มีขนาดเท่าเม็ดทราย)
เมื่ออุกกาบาตถูกแรงโน้มถ่วงของโลก ดึงดูดให้ตกลงมา เสียดสีกับบรรยากาศ
ของโลกที่ระยะสูงประมาณ 70 - 80 กิโลเมตร เกิดความร้อนจนลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็นทางยาว เรียกว่า "ดาวตก" หรือ "ผีพุ่งใต้" ในบางครั้ง
อุกกาบาตขนาดใหญ่ ลุกไหม้ไม่หมด ตกลงมาถึงพื้นโลก เราเรียกว่า "ก้อน
อุกกาบาต" (Meteorite)

ะบบของดาวฤกษ์ (Star)
 
ดาวฤกษ์ (Star)
หมายถึง ดาวซึ่งมีมวลสารจำนวนมหาศาล มีอุณหภูมิสูงและแผ่รังสี ซึ่งเกิดจาก
ปฏิกริยานิวเคลียร์ ดาวฤกษ์อยู่ไกลมาก แม้จะส่องมองด้วยกล้องโทรทรรศน์
ขนาดใหญ่ก็มองเห็นเป็นเพียงจุดแสง ดาวฤกษ์เพื่อนบ้านของเรามีชื่อว่า "อัลฟา เซนทอรี" (Alpha Centauri) เป็นระบบดาวฤกษ์สามดวง (มีดวงอาทิตย์สามดวง
โคจรรอบกันและกัน)อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งสัตว์ ดวงที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก
ที่สุดชื่อ "ปร๊อกซิมา เซนทอรี" (Proxima Centauri) อยู่ห่างออกไป 40 ล้านล้าน
กิโลเมตร หรือ 4.2 ปีแสง (1 ปีแสง = ระยะทางซึ่งแสงใช้เวลานาน 1 ปี หรือ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร) ดาวฤกษ์บางดวงมีดาวเคราะห์โคจรล้อมรอบ เช่นเดียว
กับดวงอาทิตย์ของเรา เราเรียกระบบสุริยะเช่นนี้ว่า "ระบบสุริยะอื่น" (Extra solar system)
เนบิวลา (Nebula)
หรือ หมอกเพลิง หมายถึง กลุ่มก๊าซซึ่งรวมตัวกำเนิดเป็นดาวเกิดใหม่ หรือ กลุ่ม
ก๊าซซึ่งเกิดจากการระเบิดของดาว เราแบ่งเนบิวลาตามความสว่างออกเป็น 2 ชนิดคือ "เนบิวลาสว่าง" (Emission nebula) ซึ่งได้รับแสงมาจากดาวฤกษ์ซึ่งอยู่
ข้างในกลุ่มก๊าซ และ "เนบิวลามืด" (Dark nebula) ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซหนาทึบบดบัง
แสงสว่างจากดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ด้านหลัง เนบิวลาสว่างใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้
ง่าย ได้แก่ เนบิวลากลุ่มดาวนายพราน (M42)
กระจุกดาวเปิด (Open Cluster)
เมื่อหมอกเพลิงมีขนาดใหญ่ยุบตัว จะให้กำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมาก อยู่ในบริเวณ
ใกล้ ๆ กัน กระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียง และมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ กระจุก
ดาวลูกไก่ (M45) ในกลุ่มดาววัว (Taurus)
 
ระบบของกาแล็กซี (Galaxies System)
 
กาแล็กซี (Galaxy)
บางทีเรียกว่า "ดาราจักร" หมายถึง อาณาจักรของดาว ดาวมิได้กระจายตัวกัน
อยู่ในอวกาศ แต่อยู่รวมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ กาแล็กซีของเรามีชื่อว่า "กาแล็กซีทางช้างเผือก" (The Milky Way galaxy) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 100,000 ปีแสง (1 ปีแสง = ระยะทางซึ่งแสงใช้เวลานาน 1 ปี หรือ 9.5ล้านล้านกิโลเมตร)เป็นอาณาจักรของดาวประมาณ 1 พันล้านดวงในกาแล็กซี
มีทั้ง ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ เนบิวลา และกระจุกดาวเปิด นอกจากกาแล็กซีทาง
ช้างเผือกแล้ว ยังมี "กาแล็กซีแอนโดรมีดา" (M31) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วย
ตาเปล่า เป็นจุดจาง ๆ ในกลุ่มดาวแอนโดรมีดา (Andromeda) กาแล็กซีนี้อยู่
ห่างออกไป 2.3 ล้านปีแสง
กระจุกดาวทรงกลม (Globular cluster)
เป็นกระจุกดาวฤกษ์ซึ่งเกาะตัวกัน เป็นรูปทรงกลมคล้ายลูกบอล อยู่รายล้อม
ใจกลางของกาแล็กซี กาแล็กซีทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมรายล้อมอยู่
ไม่น้อยกว่า 150 กระจุก แต่ละกระจุกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 ปีแสง โดยมีดาวฤกษ์บรรจุอยู่ภายในนับแสน ถึงหลายล้านดวง กระจุกดาวทรง
กลมที่มีชื่อเสียงมีชื่อว่า "โอเมก้า เซนทอรี" (Omega Centauri) อยู่ในกลุ่มดาว
คนครึ่งสัตว์ (Centaurus) ทางซีกฟ้าใต้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คล้าย
ดาวดวงเล็ก

หมายเหตุ: ภาพเทห์วัตถุแต่ละชนิดในภาพ มิได้อยู่ในมาตราส่วนเดียวกัน