Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   ประเภทของโครงกระดูก

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

     
  โครงกระดูกในมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
  1. โครงกระดูกแกน (axial skeleton)

  2. โครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)

 

   
  ที่มาภาพ : http://faculty.weber.edu/nokazaki/Human_Biology/Chp%205%20The%20Skeletal%20System.htm  
     

โครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่

  • กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น
  • กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น
  • กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
  • กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น
  • กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น
  • กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น
 

โครงกระดูกรยางค์ โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่

  • กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 5 ชิ้น
  • กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น
  • กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น
  • กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น
  • กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น
  • กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น
 
 
   โรคที่เกี่ยวกับโครงกระดูก

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          โรคที่เกี่ยวกับโครงกระดูกจะส่งผลต่อความแข็งแรง และความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง ความผิดปกติของ โครงกระดูก ที่พบบ่อย คือ กระดูกหัก ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกได้รับแรงที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นเพียงกระดูกที่หักอยู่ภายใน หรืออาจมีส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกระดูก ที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาก็ได้ในกรณีร้ายแรง นอกจากนี้ ภาวะกระดูกหักยังพบได้ง่ายในผู้ป่วย โรคกระดูกพรุน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ และสตรีวัยหมดประจำเดือน โรคของกระดูกที่จัดว่าร้ายแรง ได้แก่ เนื้องอกและมะเร็งของกระดูก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด นอกจากนี้ ภาวะข้ออักเสบ ยังส่งผลเสียต่อกระดูกในบริเวณข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงและเคลื่อนไหวลำบากอีกด้วย
 
   วิธีการดูแลกระดูก

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

เพื่อให้กระดูกมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ สิ่งที่เราควรต้องปฏิบัติให้เป็นประจำ ได้แก่

  1. ออกไปรับแสงแดดในช่วงเช้าก่อน 9 นาฬิกาเพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ที่จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม แต่อย่าให้โดนแดดจัด ในช่วงกลางวัน เพราะแสงแดดจัด คือสาเหตุสำคัญของมะเร็ง การสร้างวิตามินดี เริ่มในชั้นผิวหนัง ซึ่งจะสร้างได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ การสัมผัสกับแสงอาทิตย์ของคนเรา ดังนั้นอย่างลืมไปออกกำลังกายในตอนเช้า เพื่อรับแสงอาทิตย์อ่อนๆด้วย
  2. ดื่มนมเป็นประจำและบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และครบถ้วนทุกหมู่ นมและผลิตภัณฑ์ต่างจากนมนั้น อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ซึ่งนมแคลเซียมสูงที่มี่ส่วนผสมของวิตามินเค ที่ช่วยลดการเสื่อมสลายของแคลเซียมนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สำหรับสุขภาพรกระดูก
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ และสม่ำเสมอการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากนั้นการออกกำลังกาย ยังส่งผลให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้นด้วย
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี