Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
            

         โดยปกติร่างกายจะมีการป้องกัน และกำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดย ระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย เพราะร่างกายมีด่านป้องกัน และต่อต้านเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมหลายขั้น

          เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส พยาธิต่างๆ สารเคมีที่เจือปนอยู่ในอากาศ ที่จะเข้าสู่ร่างกายทาง ผิวหนัง ทางระบบหายใจ ทางระบบย่อยอาหาร หรือทางระบบหมุนเวียนเลือด

 

 

ที่มาภาพ : http://gendenk.org/the-super-sized-tonsil.html

 
     
   ขั้นตอนการป้องกันและต่อต้านเชื้อโรค

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ขั้นที่ 1 ผิวหนังห่อหุ้มร่างกาย

  • จุลินทรีย์ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้
  • ร่างกายจะขับกรดแลกตริคออกมาพร้อมกับเหงื่อจะป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้
  • ร่างกายมีการสร้างน้ำ น้ำลาย ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย เป็นการช่วยให้เชื้อโรคหลุดออกจากร่างกายทางหนึ่งด้วย
  • การไอหรืออาเจียนก็มีผลให้เชื้อโรคหลุดออกจากร่างกาย

ขั้นที่ 2 เมื่อเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้

           เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่บริเวณนั้น ทั้งที่อยู่ในเนื้อเยื่อ และท่อน้ำเหลือง ก็จะเคลื่อนที่แบบ อะมีบา เข้าทำลายเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม โดยวิธีฟาโกไซโทซิส

ที่มาภาพ : http://www.stjohn.ac.th/Department/school/bio_pix/phagocytosis1.gif
 
   วัคซีน (Vaccine)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
                   วัคซีน เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ หรือส่วนของ เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกัน ที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกัน อันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไป จะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่ เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย และสามารถจดจำได้ว่า เป็นสารก่อโรค ซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจน ของระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจน หากเมื่อได้รับอีกในภายหลัง ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มาภาพ : http://thainews.prd.go.th/ centerweb/ newsen/ NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5707250010001

 
     
   เซรุ่ม (Serum)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
            เซรุ่ม เป็นภูมิคุ้มกันโรค ที่ฉีดเข้าร่างกายแล้วร่างกาย สามารถนำไปใช้รักษาโรคได้ทันที เพราะเซรุ่มเป็นแอนติบอดีที่สัตว์สร้างขึ้น เซรุ่มอาจทำได้โดยฉีดเชื้อโรค ที่อ่อนฤทธิ์ลง แล้วเข้าไปใน ม้าหรือกระต่าย เมื่อม้าหรือกระต่าย สร้างแอนติบอดีขึ้นในเลือด เราจึงดูดเลือดม้าหรือกระต่ายที่เป็น น้ำใส ๆ ซึ่งมีแอนติบอดีอยู่ นำมาฉีดให้กับผู้ป่วย ตัวอย่างของเซรุ่ม เช่น เซรุ่มป้องกันโรคคอตีบ เซรุ่มป้องกันโรคบาดทะยัก เซรุ่มป้องกัน โรคไอกรน เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เซรุ่มแก้พิษงู เป็นต้น

 

 

ที่มาภาพ : https://www.gotoknow.org/posts/492505

 
     
           ดังนั้นวัคซีนกับเซรุ่มต่างกันคือ ผู้ได้รับวัคซีนจะไม่เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง และทำให้ร่างกานมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่ได้นาน แต่วัคซีนร่างกาย ไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ส่วนผู้ที่ได้รับเซรุ่มอาจเกิดอาการแพ้ที่รุนแรงได้ แต่ร่างกายสามารถนำเซรุ่มไปใช้ต้านทานโรคได้ทันที
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี