Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   เส้นเลือด (blood vessel)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

     
 

          ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตระบบหมุนเวียนโลหิตมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเส้นเลือดแดง (arterial system) และระบบเส้นเลือดดำ (venous system)

  1. เส้นเลือดแดง (artery) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดี ออกจากหัวใจ เพื่อนำไปยังเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เส้นเลือดดำ จะเริ่มต้นที่เส้นเลือดฝอย แล้วก็ใหญ่ขึ้น จนถึง หัวใจ จะมีขนาดใหญ่สุด
  2. เส้นเลือดดำ (vein) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเสีย เข้าสู่หัวใจ โดยเป็นเลือดที่มาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดแดง จะเริ่มต้นที่เส้นเลือดขนาดใหญ่ที่สุด แล้วค่อยๆ ลดขนาดลง จนเป็นเส้นเลือดฝอย

            

            

 

 
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/89898
 
  โครงสร้างของเส้นเลือด

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

          โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง (vein and artery) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ

 

  1. เนื้อเยื่อชั้นนอก (tunica externa) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ (connective tissue) ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ภายในเนื้อเยื่อมีท่อน้ำเหลือง และเส้นประสาท ทำให้เส้นเลือดเล็กลงและใหญ่ขึ้นได้ตามความต้องการของร่างกาย
  2. เนื้อเยื่อชั้นกลาง (tunica media) เป็นเนื้อเยื่อชั้นที่มีความหนามากที่สุด เป็น muscle layer ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภท elastic tissue และมี collagen fiber ทำให้มีความเหนียวและแข็งแรง ในเส้นเลือดแดงจะมีเนื้อเยื่อชั้นกลางหนากว่าเส้นเลือดดำ
  3. เนื้อเยื่อชั้นใน (tunica interna) เนื้อเยื่อชั้นในสุดประกอบด้วยเนื้อเยื่อ endothelium และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพวก elastic tissue ช่วยเพิ่มความแข็งแรง

โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่มีขนาดเท่ากันจะมีความแตกต่างกัน คือ

  • เส้นเลือดดำมีผนังบางกว่าเส้นเลือดแดง
  • เส้นเลือดดำมีช่องว่างภายในมากกว่าเส้นเลือดแดง
  • สีของเส้นเลือดดำจะมีสีคล้ำกว่าเส้นเลือดแดง
 
ที่มาภาพ : http://www.bknowledge.org/ bknow/ userfiles/ image/ human_body/ Cardiovascular/ vessels.jpg
 
   การไหลของเลือด (bloodflow)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          วิลเลียม ฮาวี นายแพทย์ชาวอังกฤษได้สรุปไว้ว่า “เลือดจะถูกดันออกจากหัวใจไปทั่วร่างกาย แล้วก็จะไหลกลับเข้าหัวใจอีก” การไหลของเลือด จะเป็นไปในทางเดียวกันหมด ไม่มีการย้อนทิศทางกันเลย แรงดันที่ทำให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดได้นั้น เริ่มต้นมาจากหัวใจ ซึ่งเปรียบเสมือน เครื่องสูบ และจะต้องมีกำลังแรงพอที่จะดันเลือด ให้ไหลไปตามเส้นเลือดได้ติดต่อกันเป็น ระยะๆ เรื่อยไป โดยเลือดไหลผ่านหัวใจ ประมาณนาทีละ 5 ลิตร
        การไหลของเลือดมี 2 วงจร คือ
  – pulmonary circulation     – systemic circulation  
  เป็นวงจรที่เลือดเสีย จากหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle) เดินทางไปยังปอดด้านซ้าย และปอดด้านขวา (lung)ไปฟอก หรือเพื่อรับออกซิเจน และคายคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเดินทางจากปอด กลับมาที่หัวใจห้องบนด้านซ้าย (left auricle)     เป็นวงจรของเลือดดี จากหัวใจห้องด้านล่างซ้าย (left ventricle)ไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกลายเป็นเลือดเสีย เดินทางกลับสู่หัวใจ ทางห้องบนด้านขวา (right auricle)  
       
  ที่มาภาพ : http://4.bp.blogspot.com/-uKiivkXgpqk/TaT6BbFZ4LI/ AAAAAAAAAAk/QqqyufgIY58/s1600/Circuit1.gif     ที่มาภาพ : http://4.bp.blogspot.com/-uKiivkXgpqk/TaT6BbFZ4LI/ AAAAAAAAAAk/QqqyufgIY58/s1600/Circui2..gif  
           
 
  ที่มาภาพ : http://www.biosbcc.net/doohan/sample/htm/heart.htm
 
   การวัดความดันโลหิต

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          การวัดความดันโลหิต ทำได้โดยใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า sphygmomanometer หรือ มาตรวัดความดันเลือด ค่าความดันเลือด มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรของปรอท ความดันเลือดปกติ ของคนที่โตเต็มที่ มีค่าประมาณ 120/80 มิลลิเมตรของปรอท
  ที่มาภาพ : http://www.phschool.com/ science/ biology_place/ labbench/lab10/ images/ bloodpr.gif
ที่มาภาพ : https://dokkaew.files.wordpress.com/2012/09/managing-high-blood-pressure.jpg?w=290  
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี