Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   เซลล์ประสาท (neuron)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
         เซลล์ประสาทเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลส์ประสาทหนึ่งเซลล์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
  1. ตัวเซลส์ (cell body) เป็นจุดศูนย์กลางของเซลล์ประสาท ประกอบด้วย นิวเคลียส (nucleus) อยู่ตรงกลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยของเหลว ที่เรียกว่า ไซโตพลาส (cytoplast) มีผนังเซลล์ (cellmembrane) ทำหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์
  2. เดนไดรท์ (dendrite) เป็นเส้นใยที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มีหน้าที่รับความรู้สึกมีกิ่งก้านสาขาเป็นแขนงสั้น ๆ มีลักษณะคล้าย รากแขนงของต้นไม้
  3. แอกซอน (axon) เป็นเส้นใยเดี่ยว ๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ส่งความรู้สึกของเซลล์นั้น ไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ แอกซอนมีเปลือกหุ้มเรียกว่า ไมอิลินชีท (myelin sheath) ปลายสุดของแอกซอนเป็นพุ่ม ต่อกับอวัยวะเรียกเอนด์บลาส (end brust) ใยแอกซอนจะมีความยาวมากเป็นพิเศษ แต่ละเซลล์จะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ปลายแขนงย่อยของแอกซอน ทุกแขนงจะมีตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่าตุ่มปลายประสาท (terminal buttons) การทำงานของแอกซอนจะเกิดขึ้น
     
 
ที่มาภาพ : http://dekmaihiso.web44.net/ Images/ Nervous%20Cell.jpg   ที่มาภาพ : http://www.pibul.ac.th/ vichakan/ sciweb/Biology42042/ Nerve/ pic-nerve/ pl_nerve.jpg
     
         เมื่อตัวเซลล์ได้รับกระแสประสาทความรู้สึก จากเดนไดรท์จากนั้นจะส่งกระแสความรู้สึกนั้นไปยังแอกซอน แล้วแอกซอนจะส่งกระแสประสาทความรู้สึกนั้น ต่อไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ หรือส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดความรู้สึก หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ที่มาภาพ : http://img.medicalxpress.com/newman/gfx/news/2013/backwardssig.gif
     
  ระบบประสาท (nervous system)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
            

         ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS)
    ประกอบด้วย
    สมอง (brain) และ ไขสันหลัง (spinal cord)
  2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous system หรือ PNS)
    ประกอบด้วย
    เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และ เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)

 

 

 

ที่มาภาพ : http://linksservice.com/cns-vs-pns/

 
     
  ประสาทรับความรู้สึก

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player


ที่มาภาพ : http://creationwiki.org/Sensory_system

ที่มาภาพ : http://www.audiphoneakron.com/ vestibular-balance-and-vertigo.html
            การได้ยิน คลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศ เข้าสู่หูชั้นนอกผ่านเข้าสู่หูชั้นกลาง และชั้นใน และจะถูกเปลี่ยนเป็นแรงสั่นสะเทือน โดยกระดูกหูซึ่งวางเรียงตัวกันอยู่ แรงสะเทือนจะผ่านของเหลวภายในหูชั้นใน และจะถูกแปรเป็นสัญญาณประสาทไฟฟ้า ก่อนที่จะถูกส่งไปแปลความหมายในสมอง

ที่มาภาพ : http://creationwiki.org/Sensory_syste

ที่มาภาพ : http://global.britannica.com/ EBchecked/ topic/534831/ human-sensory-reception/64840/ Vestibular-sense-equilibrium
            การรับรส ผิวของลิ้นปกคลุมด้วยตุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพาพิลลา (Papillae) จำนวนนับล้าน ซึ่งยื่นออกมาเหมือนนิ้วทำให้ผิวไม่เรียบ เหมือนปุยขนพาพิลลามี 4 ชนิด ใน 3 ชนิดจะมีปุ่มรับรส ซึ่งถึงแม้จะสามารถรับรสมาตรฐานได้ 4 รสเท่านั้นคือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม แต่ด้วยเส้นประสาทที่ประสานกันอย่างซับซ้อน และประสาทรับกลิ่นทำให้เราสามารถแยกรสต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด

ที่มาภาพ : http://creationwiki.org/Sensory_syste

ที่มาภาพ : http://creationwiki.org/ File:Eye_retina.jpg
            การมอง แสงเข้าสู่ตาทางแก้วตา และถูกปรับให้ภาคคมชัดบนจอรับภาพ ที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ที่ซึ่งเซลล์ไวต่อแสงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า ผ่านประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปลความหมายของภาพ

ที่มาภาพ : http://creationwiki.org/Sensory_syste

ที่มาภาพ : http://www.blinn.edu/ socialscience/ LDThomas/MyNotes/ 07Olfaction,%20Gustation ,%20Tactile%20&%20Spatial.htm
            การดมกลิ่น ประสาทสัมผัสกลิ่นของคนเรา มีศูนย์กลาง อยู่ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่นที่เพดาน ของช่องจมูก ขณะอากาศผ่านเข้าสู่ช่องจมูก จะกระตุ้นเซลล์ที่แผ่นเยื่อรับกลิ่น ให้ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมอง เพื่อแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ
     

            การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราเกือบทั้งหมด ได้ข้อมูลมาจากประสาทรับความรู้สึกพื้นฐาน 5 ทางด้วยกัน คือ การเห็น ได้ยินเสียง รู้รส ได้กลิ่น และสัมผัส ในจำนวนนี้การเห็น และการได้ยินจัดว่าเป็นประสาทที่สำคัญที่สุด อย่างไรก็ดีในความเป็นจริง การรับรู้ทุกชนิด จะทำงานประสานกัน เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ตัวอย่างที่แสดงถึงการทำงานร่วมกันนั้น เห็นได้ชัดขณะรับประทานอาหาร กลิ่นเป็นสิ่งสำคัญ ในการใช้แยกแยะความแตกต่าง ของอาหารที่มีรส และลักษณะเหมือนกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงรู้สึก เหมือนไม่รู้รสอาหารขณะเป็นหวัด อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้สึกชนิดหนึ่งเสียไป ความรู้สึกชนิดอื่นอาจช่วยทดแทนกันได้ ตัวอย่างเช่น เราอาจใช้การสัมผัส และฟังเสียง หาทิศทางได้ขณะอยู่ในที่มืด

 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี