Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

     
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
 

ที่มาภาพ : http://stream1.gifsoup.com/ view1/ 2161601/ respiration-o.gif

 
       
   จมูก (Nose)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          จมูก เป็นทางผ่านของอากาศด่านแรก ประกอบด้วยโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมของกระดูก และกระดูกอ่อน ผิวด้านนอกปกคลุมด้วยผิวหนัง ส่วนผิวด้าน ในบุด้วยเยื่อเมือก (Mucous membrane) มีช่องเปิดของช่องจมูกอยู่ 2 ช่อง แยกจากกันโดยผนังกั้น (Septum) ภายในเยื่อเมือก จะมีต่อมน้ำมันทำหน้าที่เป็นด่านป้องกัน ฝุ่นละอองไม่ให้ลงไปสู่ปอด ช่องจมูกในส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนจะเป็นพื้นที่เกี่ยวกับ การดมกลิ่น ส่วนล่างจะเป็นทางผ่านของอากาศ โดยมีส่วนของกระดูกเอทมอยด์ (Ethmoid)และกระดูกคอนคี ส่วนล่าง (Inferior conchae) ยื่นออกมา 3 อัน เพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปได้มาก และระหว่างกระดูกที่ยื่นออกมานี้ จะมีร่องเนื้อแดง (Metus) ซึ่งเป็นทางผ่านของอากาศ และมีอยู่ข้างละ 3 อัน ภายในร่องเนื้อแดง จะมีช่องเปิดของโพรงอากาศ (Air sinus) ในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ โพรงอากาศที่โหนกแก้ม (Maxilla sinus) ที่หน้าผาก (Forntal sinus) ที่ดั้งจมูก (Ethmoid sinus) และที่กระดูกสฟินอยด์ (Sphenoid sinus) จมูกนอกจากทำ หน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ไปสู่ปอดแล้ว ยังทำหน้าที่รับกลิ่น ช่วยทำให้เสียงชัดเจน อากาศชุ่มชื้นและกรอง ฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังมีท่อน้ำตา (Naso-lacrimal duct) มาเปิดที่หัวตาอีกด้วย
 
ที่มาภาพ : http://mpanaphy.weebly.com/blog/respiratory-system
 
   หลอดคอ (Pharynx)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

          หลอดคอ หรือ คอหอย เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากจมูก และปาก เป็นหลอดตั้งตรง ยาวประมาณยาวประมาณ 5 นิ้ว มีลักษณะคล้ายกรวย หลอดคอ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. คอหอยส่วนที่อยู่ติดต่อกับจมูก (Naso-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว ที่ส่วนนี้จะมีช่องไปติดต่อกับหูส่วนกลาง เรียกช่องนี้ว่า หลอดยูสเตเชียน (Eustachian’s tube)
  2. คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับปาก (Oro-pharynx) เป็นทางผ่านของอาหารและอากาศ
  3. คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับกล่องเสียง (Laryngo-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว
 
ที่มาภาพ : http://ykonline.yksd.com/ distanceedcourses/ Courses/
Biology/ lessons/ ThirdQuarterLessons/ Chapter08/ 8-3/ images/ pharynx.jpg
     
   หลอดเสียง (Larynx)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          หลอดเสียง หรือ กล่องเสียง (Larynx) เป็นอวัยวะพิเศษ ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย ทำหน้าที่เป็นทางเดินอากาศ ตั้งอยู่ส่วนบนด้านหน้าคือบริเวณลูกกระเดือก (Adam’s apple) ด้านหน้าของหลอดอาหาร
ที่มาภาพ : http://intranet.tdmu.edu.ua/ data/ kafedra/ internal/ anatomy/ classes_stud../en/ nurse/1/ adn/ptn/1/ 13.%20NASAL%20CAVITY,%20LARYNX.htm
 
          หลอดเสียง ประกอบด้วยกระดูกอ่อนทั้งชนิดใสและชนิดยืดหยุ่น 9 ชิ้นด้วยกัน ยึดติดกันด้วยเอ็นยึดข้อต่อและกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนต่างๆ ได้แก่
  1. กระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid Cartilage) เป็นกระดูกอ่อนชิ้นใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนแผ่นสี่เหลี่ยม 2 แผ่นมาประกบกันเป็นลูกกระเดือก
  2. กระดูกอ่อนคริคอยด์ (Cricoid Cartilage) รูปร่างเหมือนวงแหวน ริมล่างจะติดต่อกับหลอดลม
  3. ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) เป็นกระดูกอ่อนยืดหยุ่น มีรูปร่างคล้ายใบไม้ ยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์ เมื่อเวลากลืนอาหารลงไป ฝาปิดกล่องเสียงจะปิด เพื่อไม่ให้อาหารตกลงไป
  4. กระดูกอ่อนอาริทีนอยด์ (Arytenoid Cartilage) อยู่ส่วนบนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ ซึ่งจะเป็นที่ยึดปลายข้างหนึ่งของสายเสียง (Vocal cord) ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี