Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
       
         
    เราสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างไร ?    
         
 
       
 

ที่มาภาพ : http://www.ryandutka.com/ blog/weird-reasons-you-can-be-gaining-weight.html

 
       
   

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

    ระบบโครงกระดูก (skelatal system) และ กล้ามเนื้อ (muscular system) ของร่างกายทำงานสัมพันธ์กัน โดยที่ โครงกระดูก เป็นโครงสร้าง ที่ใช้ค้ำจุนร่างกาย ให้คงรูปร่าง ป้องกันส่วนที่อ่อนนุ่ม ของร่างกาย และ ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการทำงานร่วมกัน กับกล้ามเนื้อ
 
       
 
   โครงกระดูกของมนุษย์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
             โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วย กระดูกชิ้น ต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วย โครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ กระดูก ในมนุษย์ ผู้ใหญ่ มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 % ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวน ของกระดูก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิด จะมีกระดูก จำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้น จะม ีการเชื่อมรวมกัน ระหว่างการเจริญเติบโต เช่น ส่วนกระเบนเหน็บ และส่วนก้นกบ ของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิด ยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อน อยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้าง ของกระดูก ระหว่าง การเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนา ไปเป็นกระดูกทั้งหมด เมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น

          กระดูกจะติดต่อกับ กระดูกอีกชิ้น และ ประกอบเข้าด้วยกัน เป็นโครงกระดูก ด้วยเอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ โดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็น และ กล้ามเนื้อใกล้เคียง

         กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์ คือ กระดูกต้นขา (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่สุด คือกระดูกโกลน (Stapes) ซึ่งเป็นกระดูกของหูชั้นกลาง ชิ้นหนึ่ง

ที่มาภาพ : http://www.myfirstbrain.com/ thaidata/ image.asp?ID=428814  
 
   หน้าที่ของกระดูก

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

โครงกระดูกมีหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่

  1. ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย
  2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ และเอ็นต่างๆ สำหรับ การเคลื่อนไหว
  3. ป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น กะโหลกศีรษะ ที่ห่อหุ้มสมอง หรือ ซี่โครง ป้องกัน ปอด และหัวใจ จากการกระทบ กระเทือน
  4. เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดที่สำคัญ
  5. เป็นแหล่งเก็บสสแคลเซี่ยมที่สำคัญของร่างกาย โดยการควบคุมของฮอร์โมนและวิตามิน B3

่ที่มาภาพ : http://www.ppkstudent.com/content.php?view=20130308124009MvnCYvn

 
  กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี