Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   การคุมกำเนิด

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 

วิธีการคุมกำเนิดมีมากมายหลายชนิด สามารถแบ่งตามระยะเวลาในการคุมกำเนิด เป็น

  1. การคุมกำเนิดชั่วคราว เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะมีอยู่เพียงชั่วคราว เมื่อหยุดใช้ จะสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เอง เหมาะสำหรับผู้ที่ยังต้องการมีบุตรในอนาคต
  2. การคุมกำเนิดถาวร เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ทำครั้งเดียว สามารถคุมกำเนิดได้ตลอด ไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เองอีก เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกแล้ว
   
  การคุมกำเนิดชั่วคราว
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

1. ถุงยางอนามัยบุรุษ
ผลิตจากยางลาเทค (Latex) หรือบางชนิดผลิตจากยางเทียม (Polyurethane) คุมกำเนิดโดยการสวมใส่ที่องคชาตเพศชายขณะแข็งตัว เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับไข่ ทำให้ไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 2-15%

ข้อดี: หาซื้อได้ง่าย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ข้อเสีย: ต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายชาย อาจขัดจังหวะการร่วมเพศ มีโอกาสที่จะแตกรั่วได้ ถุงยางชนิด Latex ไม่สามารถใช้กับวัสดุหล่อลื่น ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะจะทำให้เพิ่มโอกาส เกิดการรั่วการแตกของถุงได้ และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ที่มาภาพ : http://www.dmsc.moph.go.th/ dmsc/ news_detail.php?id=183

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

2. ถุงยางอนามัยสตรี
เป็นถุงปลายตัน ผลิตจากยางเทียม Polyurethane คุมกำเนิด โดยการใส่คลุมในช่องคลอดสตรี ป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก ไม่เป็นที่นิยม และหาซื้อได้ยาก ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ได้ประมาณ 5-12%

ข้อดี: สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ สามารถใช้ร่วมกับเจลหล่อลื่น ที่เป็นน้ำมันได้ และไม่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย

ข้อเสีย: หาซื้อได้ยาก ขัดจังหวะการร่วมเพศ และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ที่มาภาพ : http://talkaboutsex.thaihealth.or.th/ news/ 2403

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

3. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
เป็นวิธีคุมกำเนิดที่แพร่หลาย มีผู้นิยมใช้มากที่สุด มีความสะดวกในการใช้ ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) และโปรเจสติน (Progestin) มีผลยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้อสุจิ ไม่สามารถ ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก บางไม่เหมาะสม ต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ได้ประมาณ 0.3-8%

ข้อดี: ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดปริมาณเลือดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุ้งเชิงกรานอัก เสบ (การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน) นอกจากนั้น เมื่อหยุดใช้ ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน อายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ (เพิ่มปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ) ผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมน และอาจพบผลข้างเคียง เช่น เลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และคัดตึงเต้านม

ที่มาภาพ : http://women.sanook.com/ 14704/

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

4. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว
ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว มีกลไกทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น อสุจิไม่สามารถ เคลื่อนผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัว ไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งพบอัตราการตั้ง ครรภ์หลังใช้ยาได้ประมาณ 0.3-8%

ข้อดี: สามารถใช้ในผู้ที่กำลังให้นมบุตรได้ เนื่องจากไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอส โตรเจน และสามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ได้

ข้อเสีย: ต้องรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน หากรับประทานผิดเวลาไป 3 ชั่วโมง ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ขณะใช้ยาจะไม่มีประจำเดือน แต่อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้

ที่มาภาพ : http://www.livestrong.com/ article/ 414094-difference-between-a-combination-estrogen-progesterone-pill-progestin-only-pills/

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

5. ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูง มีกลไกป้องกันการตั้งครรภ์ โดยป้องกันหรือเลื่อนเวลาการตกไข่ ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเป็นยาที่ใช้รับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่ลืมคุมกำเนิด หรือเกิดเหตุไม่คาดฝันขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางอนามัยรั่วหรือแตก ได้ผลดีที่สุดถ้ารับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือในเวลาไม่เกิน 72-120 ชั่วโมง พบมีอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 25%

ผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย

ที่มาภาพ : http://www.manager.co.th/ QOL/ ViewNews.aspx? NewsID=9480000091061

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

6. แผ่นแปะคุมกำเนิด
ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มีกลไกในการป้องกัน การตั้งครรภ์เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม พบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ 0.3-8%

วิธีใช้: แปะแผ่นคุมกำเนิดที่ผิวหนังบริเวณที่มีไขมัน ยกเว้นบริเวณเต้านม โดย 1 แผ่น แปะนาน 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงเปลี่ยนแผ่นโดยแปะ 3 แผ่น (นาน 3 สัปดาห์) แล้วเว้น 1 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ ที่เว้นไม่แปะแผ่นยา จะมีประจำเดือนมา โดยขณะแปะแผ่นยา สามารถทำกิจกรรมอาบน้ำ ว่ายน้ำ ได้ปกติ

ข้อดี: ใช้การดูดซึมจากผิวหนังไม่ต้องผ่านการเปลี่ยนรูปของฮอร์ โมนที่ตับ จึงลดโอกาส เกิดผลข้างเคียงต่อตับ นอกจากนั้น ยังทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน ลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และเมื่อหยุดใช้สามารถตั้งครรภ์ ได้ในระยะเวลาอันสั้น

ข้อเสีย: ไม่เหมาะในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาจมีอาการข้างเคียง เช่น คัดตึงเต้านม และเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย

ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/ ?name =knowledge&file =readknowledge&id=4170

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

7. ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
เป็นยาฉีดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มีกลไกป้องกัน การตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ข้อดี: มีประจำเดือนมาทุกเดือน ใช้ยาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง จึงลดโอกาสลืมกินยา และไม่ต้อง พกพายา ไปไหนมาไหนด้วย

ข้อเสีย: ต้องได้รับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณก้น โดยบุคลากรทางการแพทย์ และห้ามใช้ใน สตรี ที่มีข้อห้ามต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน

ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/ ?name=knowledge&file= readknowledge&id=4125

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

8. ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว
เป็นยาฉีดที่ ประกอบด้วย ฮอร์โมน โปรเจสตินอย่างเดียว มีกลไกป้อง กันการตั้งครรภ์โดยยับยั้งการตกไข่ นอกจากนั้น ยังทำให้มูก ที่ปากมดลูกเหนียวข้น อสุจิจึงไม่สามารถเคลื่อนผ่านเข้าโพรงมดลูกได้ และทำให้ เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และพบอัตราการตั้งครรภ์ หลังใช้ยา ได้ประมาณ 0.3-8%

ข้อดี: ใช้เพียง 4 ครั้งต่อปี โดยฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่ต้องพกพายาคุมกำเนิดติดตัว สามารถใช้ ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ และยามีราคาถูก

ข้อเสีย: มีผลข้างเคียง ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะ ปรอย เมื่อใช้ไปนานๆ อาจไม่มี ประจำเดือนอาจมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกาย และต้องได้รับ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่บริเวณก้นจากบุคลากรทางการแพทย์

ที่มาภาพ : http://famplancontraception. blogspot.com/ 2013/ 10/3.html

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

9. ยาฝังคุมกำเนิด
ในปัจจุบันมีเฉพาะยาฝังคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน อย่างเดียว ยามี 2 ชนิด คือ แบบ 1 แท่ง สามารถคุมกำเนิดได้ 3 ปี และชนิด 2 แท่ง สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี กลไกการคุมกำเนิดคล้ายกับยาเม็ดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว พบอัตราการตั้งครรภ์ หลังใช้ยาประมาณ 0.05% วิธีการฝังยาทำโดยกรีดผิวหนัง บริเวณท้องแขน ข้างที่ไม่ถนัด ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร จากนั้นใช้อุปกรณ์สอดเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง แล้วใส่แท่งยาตาม ไม่ต้องเย็บแผลเนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก ให้ใช้ผ้าพันบริเวณแผลไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำเป็นเวลา 7 วัน

ข้อดี: สามารถคุมกำเนิดได้ 3-5 ปี สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และสามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่

ข้อเสีย: ต้องได้รับการฝังยาจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมา มีหลักฐานการคุมกำเนิดโดยสามารถคลำแท่งยาได้ที่บริเวณท้อง แขน อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการฝังยา เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิว หนัง และอาจพบว่า ตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม

ที่มาภาพ : http://www.baby2talk.com/ topic/4112

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

10. ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดง
เป็นอุปกรณ์พลาสติกที่มีขดลวดทองแดงพัน โดยการใส่เข้าสู่โพรงมดลูก มีกลไกป้องกันการตั้งครรภ์โดย ลดการเคลื่อนที่ของ ตัวอสุจิ ทำให้เกิดการปฏิสนธิกับไข่ได้ลำบาก ร่วมกับทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก ไม่เหมาะต่อ การฝังตัว ของตัวอ่อน ระยะเวลาในการคุมกำเนิด 3, 5, หรือ 10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของ ห่วงคุมกำ เนิด ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใส่ห่วงคุมกำเนิดคือ ช่วงวันที่ 1-5 ของ การมีประ จำเดือน เนื่องจาก แน่ใจได้ว่า ช่วงนี้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และเป็นช่วงใส่ห่วง ได้ง่ายเนื่องจาก ปากมดลูกเปิด ทั้งนี้ พบอัตราตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 0.6-0.8%

ข้อดี: สามารถคุมกำเนิดได้เป็นเวลานาน เมื่อต้องการตั้งครรภ์สามารถดึง ห่วงคุมกำเนิด ออกได้ทันที ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อห้าม ในการใช้ฮอร์โมน ผู้ใช้จะมีประจำเดือนทุกเดือนตามปกติ และมีรายงานว่า อาจช่วยลด อัตราการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก

ข้อเสีย: ต้องได้รับการใส่จากบุคลากรทางการแพทย์ เหมาะสำ หรับผู้ที่เคยคลอดบุตร ต้องทำการตรวจสายห่วงด้วยตนเองทุกเดือน ไม่เหมาะสำ หรับผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือกำลังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพราะเพิ่มโอกาสติดเชื้อให้สูง และรุนแรงขึ้น อาจมีผลข้างเคียง คือ อาการปวดหน่วงท้อง น้อย และเลือดออกทางช่องคลอด กะปริดกะปรอย

ที่มาภาพ : http://www.manager.co.th/ CelebOnline/ ViewNews.aspx?NewsID=9550000082199

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

11.
ห่วงคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมนโปรเจสติน เป็นวัสดุพลาสติกที่มีแท่งยาฮอร์โมน โปรเจสติน โดยแท่งยาจะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ มีระยะเวลา ในการคุมกำเนิด 5 ปี ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใส่ห่วงคุมกำเนิด เช่นเดียวกับ ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดง กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ขัดขวางการฝังตัวอ่อน มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้ อสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ และพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้วิธีนี้ ประมาณ 0.1%

ข้อดี: เนื่องจากมีฮอร์โมนโปรเจสติน จึงสามารถช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยลดขนาดของเนื้องอกมดลูก(ถ้ามีเนื้องอกมดลูกอยู่) เมื่อใส่ห่วงในขณะอายุ 45 ปี สามารถใช้คุมกำ เนิดจนถึงวัยหมดระดูได้ สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสติน เป็นการออกฤทธิ์เฉพาะที่ ไม่ผ่านร่างกายทั้งระบบ

ข้อเสีย: มีราคาแพง ต้องได้รับการใส่ห่วงนี้จากบุคลากรทางการ แพทย์ ต้องทำการตรวจสายห่วงด้วยตนเองทุกเดือน ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือมีคู่นอนหลายคน อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดหน่วงท้อง น้อย และเลือดออกกะปริดกะปรอย

ที่มาภาพ : http://www.mornopporn.com/ ss/ content.php?id=birth/ 4.html

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

12. วงแหวนคุมกำเนิด
เป็นวงแหวนพลาสติก ซึ่งจะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปร เจสตินเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์คล้ายกับยาเม็ดคุม กำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม โดยใส่วงแหวนคุมกำเนิดเข้าไปในช่องคลอด ให้วงแหวนคลุม ปากมดลูก โดยใส่ในช่องคลอดนาน 21 วัน ถอดออก 7 วันในช่วงที่ไม่ ได้ใส่วงแหวนคุมกำเนิด 7 วันนี้จะมีประจำเดือนมา หลังจากนั้นจึงใส่วงแหวนคุม กำเนิดอันใหม่

ข้อดี: เป็นการดูดซึมฮอร์โมนเฉพาะที่ ไม่รบกวนระบบของร่างกาย ทั้งหมด ใส่เดือนละครั้ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุ โพรงมดลูก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ และประจำเดือนมาสม่ำเสมอ

ข้อเสีย: ยังไม่มีจำหน่วยในประเทศไทย อาจมีการระคายเคืองช่องคลอด อาจจะเพิ่มการติดเชื้อ ในช่องคลอด มีตกขาวมากขึ้น อาจเกิดเลือด ออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และคัดตึงเต้านม

ที่มาภาพ : http://ideaneverdie.blogspot.com/ 2013/10/ episode-ii.html

 
  การคุมกำเนิดถาวร

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การทำหมันชาย
เป็นการคุมกำเนิดโดยผ่าตัดผูกหลอดนำอสุจิ ที่บริเวณ อัณฑะ ทำให้ไม่มีตัวอสุจิออกมากับน้ำเชื้อ จึงไม่มีการปฏิสนธิ ของอสุจิ กับไข่

ข้อดี: ผ่าตัดครั้งเดียว สามารถคุมกำเนิดได้ตลอดชีวิต การผ่าตัด ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องกังวล เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ จึงทำให้เพิ่มความสุขทางเพศ

ข้อเสีย: ต้องได้รับการผ่าตัดจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับ การฝึกฝนมา หากต้องการมีบุตรเพิ่มอีก ต้องได้รับการผ่าตัดแก้หมัน โดยผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือในการผ่าตัดเฉพาะ

ที่มาภาพ : http://www.manager.co.th/ asp-bin/ Image.aspx?ID=400872

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

การทำหมันหญิง
เป็นการคุมกำเนิดโดยการตัดผูกท่อนำไข่ 2 ข้าง ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถเข้าปฏิสนธิกับไข่ได้ จึงไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังผ่า ตัด ประมาณ 0.2-0.7%

ข้อดี: ผ่าตัดครั้งเดียว สามารถคุมกำเนิดได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องกังวล เกี่ยวกับการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ และทำให้เพิ่มความสุขทางเพศ เพราะไม่ต้องกังวลต่อการตั้งครรภ์

ข้อเสีย: ต้องได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์ มีแผลที่หน้าท้อง หากต้องการ มีบุตรเพิ่มอีก ต้องได้รับการผ่าตัดแก้หมัน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ในการผ่าตัดที่เฉพาะ

ที่มาภาพ : http://f.ptcdn.info/ 441/ 006/000/ 1371823026-image-o.jpg

 
   เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
         คู่สามีภรรยาหลายคู่ต้องประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก ทำให้ต้องผิดหวังกับความตั้งใจในการมีบุตร แต่ด้วยความก้าวหน้า ของวิทยาการ ทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการช่วยการเจริญพันธุ์

         เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่รู้จักกันดี ได้แก่ กิ๊ฟท์ (GIFT ; gamete intra – fallopian transfer) และเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF : in vitro fertilization) ทั้ง 2 วิธีนี้ ในระยะเริ่มต้นจะเหมือน ๆ กัน คือเริ่มด้วยการกระตุ้นไข ่เพื่อจะได้ไข่หลาย ๆ ใบ แพทย์มักจะให้ยาฮอร์โมนชนิดพ่นจมูก โดยให้เริ่มพ่นตั้งแต่ 7 วันก่อนประจำเดือนจะมา เมื่อประจำเดือนมาแล้ว ในวันที่ 3 จะเริ่มฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ทุกวัน พอฉีดไป 5 – 6 วัน จะนัดมาตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อดูขนาด และจำนวนของถุงไข่ ส่วนใหญ่ต้องฉีด 8 – 12 วัน แล้วแต่การตอบสนองของแต่ละคน จึงต้องตรวจอัลตราซาวด์ 2 - 3 ครั้ง พอไข่สุกเต็มที่จะฉีดยาฮอร์โมนให้เป็นเข็มสุดท้าย หลังจากนั้น 34 – 36 ชั่วโมง จะนัดมาเจาะเก็บไข่ ก่อนถึงวันเจาะเก็บไข่อาจมีการเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน 1 – 2 ครั้ง ในวันเจาะเก็บไข่ ต้องงดน้ำงดอาหารมาประมาณ 8 ชั่วโมง และวันนั้นสามีต้องมาเพื่อเก็บน้ำเชื้ออสุจิด้วย กิ๊ฟท์และเด็กหลอดแก้วจะแตกต่างกันตรงช่วงต่อไปนี้

          ถ้าทำกิ๊ฟท์จะเป็นการนำเอาไข่ และอสุจิที่เตรียมด้วยน้ำยาแล้ว ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเข้าห้องผ่าตัด ดมยาสลบ และกรีดแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 3 ตำแหน่ง เอากล้องส่องเข้าไป ในช่องท้อง แล้วเอาไข่เก็บอสุจิใส่ใน catheter สอดเข้าไปในท่อนำไข่ และฉีดไข่กับอสุจิไว้ตำแหน่งประมาณกึ่งกลางของท่อนำไข่ ผู้ป่วย จะต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน จึงจะกลับบ้านได้
   
         ถ้าเป็นเด็กหลอดแก้ว จะเจาะเก็บไข่ออกมาทางช่องคลอด ผู้ป่วยนอนพัก 1 – 2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้ แพทย์จะนำไข่ที่ได้ ใส่รวมกับ อสุจิของสามี ที่เตรียมด้วยน้ำยาแล้ว นำเข้าไปเลี้ยงใน incubator ซึ่งเป็นตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส วันรุ่งขึ้นจะนำออกมาตรวจดู หากมีการปฏิสนธิก็เลี้ยงต่อ ประมาณ 3 วัน เมื่อตัวอ่อนอยู่ในระยะ 6 – 8 เซลล์ ก็นำมาใส่กลับเข้าไปใน โพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด หรือจะเลี้ยง 5 วัน จนตัวอ่อน อยู่ในระยะ blastocyst แล้วค่อยใส่กลับก็ได้ ผู้ป่วยนอนพักประมาณ 2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาล หลังใส่ตัวอ่อน แพทย์จะให้ยาฮอร์โมน อาจเป็นยาฉีด หรือยาสอดช่องคลอด เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะแก่การฝังตัว หลังใส่ตัวอ่อนประมาณ 12 วัน แพทย์จะนัดมาเจาะเลือดตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่
ที่มาภาพ : http://hayatcenter.com/ TreatmentOptionsandRisks.aspx  
 
         ในช่วงแรกของการรักษาด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ มักนิยมทำกิ๊ฟท์มากกว่าเด็กหลอดแก้ว เพราะอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่า(ประมาณ 30% ต่อ 15%) แต่ต่อมาเมื่อห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน และน้ำยาต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น อัตราการตั้งครรภ์ของทั้ง 2 วิธีใกล้เคียงกัน คือประมาณ 30 % ต่อรอบการรักษา ดังนั้น ปัจจุบันจึงมักทำวิธีเด็กหลอดแก้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาผ่าตัดเหมือนวิธีกิ๊ฟท์ และไม่ต้องนอนพัก ในโรงพยาบาล ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลง
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี