ความเป็นมา
 

ในปี พ.ศ.2301 ชาร์ล เมสสิเยร์ นักล่าดาวห่างชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบวัตถุสว่างมัวๆ
คล้ายดาวหาง แต่อยู่ประจำที่ ไม่เคลื่อนที่ไปเหมือนดาวหาง เขาจึงได้ทำการบันทึกตำแหน่ง
เอาไว้เพื่อมิให้ต้องเสียเวลาเข้าใจผิดในครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามเลนส์ของกล้องโทรทรรศน์
ในยุคนั้นยังไม่มีคุณภาพดี เขาจึงยังไม่ทราบว่าวัตถุที่เขาเห็นคืออะไร  ในปี พ.ศ.2317 เขาได้
ตีพิมพ์เผยแพร่วัตถุท้องฟ้าที่น่าสับสนจำนวน 45 วัตถุ  เวลาต่อมาเขาได้รับความช่วยเหลือ
จากเพื่อนนักล่าดาวหาง ปิแอร์ เม็คเคน ทำให้ค้นพบวัตถุที่น่าสงสัยเพิ่มเติมเป็น 103 วัตถุ
ในปี พ.ศ.2524   นักดาราศาสตร์ในยุคต่อมาได้เพิ่มเติมวัตถุที่ค้นพบภายหลังเข้าไปอีก 7 วัตถุ
จนเป็น 110 วัตถุ และตั้งชื่อให้เกียรติแก่ชาร์ลว่า “วัตถุเมสสิเยร์” (The Messier Objects)
แม้กาลเวลาจะผ่านไปแล้วสองร้อยกว่าปี แต่วัตถุเมสสิเยร์ก็ยังเป็นวัตถุในห้วงอวกาศลึก
ที่ทั้งนักดาราศาสตร์อาชีพ และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนิยมใช้กล้องส่องดู เนื่องจาก
มีความสวยงามและมีความสว่างพอสมควรสามารถใช้กล้องขนาดเล็กส่องดูได้


 

เว็บเพจนี้เป็นผลงานของ “ยุววิจัยดาราศาสตร์ 2550” ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
์ (LESA) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ทำการวิจัยศึกษา
วัตถุเมสสิเยร์ ณ หอดูดาวเกิดแก้ว จ.กาญจนบุรี โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อัติโนมัติ ROTSE ซึ่งติดตั้งไว้ 4 แห่งทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นามิเบีย และตุรกี


  คณะผู้จัดทำ
น.ส.ลลิตวดี กวินวณิชกิจ, น.ส.อุษณี ชินเจริญดี, น.ส.กนกวรรณ ศักดิ์สกุลไกล (รร.ศึกษานารี)
น.ส.กีรติกา สุขสีทอง, น.ส.มณฑิกา เรืองนภารัตน์ (ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เชียงราย)
น.ส.บงกช พิทักษ์ชาติวงศ์, น.ส. ปานกมล รังษี, ด.ญ.ชนิสรา ป้อมรบ (ร.ร.นารีรัตน์จังหวัดแพร่)
ด.ญ.ณิชา โชติปฎิเวชกุล (ร.ร.อนุบาลแพร่)
ด.ช.ไกรวิน นรรัตน์, ด.ช.ไกรวิชญ์ นรรัตน์ (ร.ร.พิริยาลัยจังหวัดแพร่)
นายสารศิลป์ บุญยะรัตน (ร.ร.พิษณุโลกวิทยาคม)
นายรวีวัฒน์ ถวัลย์เถลิงฤทธิ์ (ร.ร.วัดสุทธิวราราม)
ี์ิ์นายบัญชา บัวหอม (ร.ร.ปักธงชัยประชานิรมิต)