เรื่องที่  4  ความผิดปกติของทางเดินอาหารบางส่วน

 

จุดประสงค์การเรียน

   1.  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย และระบุสาเหตุบางประการที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับทางเดินอาหาร   

         บางส่วนของคน  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพ

 

ความผิดปกติของทางเดินอาหารบางส่วน

1.  นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) 

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว    พบว่าผู้ใหญ่ร้อยละ 10 – 20  มีนิ่วในถุงน้ำดี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 

นิ่วในถุงน้ำดีประกอบด้วยคอเลสเทอรและเกลือน้ำดีซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ตับมีการหลั่งน้ำดีที่มีความเข้มข้นของคอเลสเทอรอลสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยบางรายที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจจะไม่มีอาการผิดปกติแต่บางรายอาจจะมีอาการเช่นปวดบริเวณช่องท้องด้านบน

หรือใต้ชายโครงด้านขวาหรืออาจปวดร้าวที่สะบักขวาร่วมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียนซึ่งมักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง          และในบางครั้งผู้ป่วยจะมีไข้  หนาวสั่น ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นภาวะแทรกซ้อนได้

 

                                                               ภาพที่ 4.1 แสดงตำแหน่งถุงน้ำดี ซึ่งอยู่ใต้ตับเหนือลำไส้เล็ก

                                                               ที่มา :  gogogojiteam.com

 

 

                                                              ภาพที่  4.2  แสดงหินในถุงน้ำดี

                                                              ที่มา :  almglobal.net

 

2.        ดีซ่าน (Jaundice)

                ดีซ่าน คืออาการตัวเหลืองและตาเหลือง  ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ  เช่น  ท่อน้ำดีอุดตัน  ภาวะตับอักเสบ  หรือการที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกในกระแสเลือด  เป็นต้น   ผู้ป่วยดีซ่านควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

 

 

                                                ภาพที่  4.3  อาการตัวเหลืองและตาเหลืองในเด็กของผู้ป่วยดีซ่าน

                                                ที่มา   :  health.allrefer.com

 

 

 

                                                ภาพที่  4.4  อาการตัวเหลืองและตาเหลืองในผู้ใหญ่

                                                ที่มา : www.nlm.nih.gov

 

                3.  อะโนรีเซีย   เนอร์โวซา (Anorexia  nervosa) 

เป็นความผิดปกติของการรับประทานอาหาร  ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงอายุน้อยที่อด อาหารเอง  ตามคำศัพท์หมายความว่า “สูญเสียความรู้สึกอยากอาหาร” แต่มักมีผลกระทบต่อคนที่อ้วนจากอาหารและรู้สึกหิวอย่างต่อเนื่อง  สาเหตุการเกิดอะโนรีเซีย เนอร์โวซา มีความซับซ้อนมาก  แต่ยีนมีบทบาทแน่นอน  อาการของโรคคล้ายกับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร คือ มีน้ำหนักลด  นอกจากนั้นยังบาดเจ็บได้ง่ายจากการสูญเสียกระดูกและกระดูกเปราะ

 

 

                                                                     ภาพที่  4.5  แสดงการเกิดอะโนรีเซีย เนอร์โวซาในคน

                                                                     ที่มา : totallyfabulous.typepad.com

 

            

 

 

                                                          ภาพที่  4.6  แสดงการเกิด“สูญเสียความรู้สึกอยากอาหาร” ในคน

                                                          ที่มา :  รูปซ้าย ebsco.smartimagebase.com

                                                                     รูปขวา www.fotosearch.com

 

                4.  โรคกระเพาะอาหาร (Peptic  ulcer)

                เนื้อเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารหรือส่วนต้นของลำไส้เล็กเป็นรู  กรดที่รั่วจากแผลของกระเพาะอาหารก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง และอาจคุกคามต่อชีวิตถ้ารุกรานถึงหลอดเลือด  ปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร   และมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเป็นประจำ  เช่น เป็นตะคริว  ท้องร่วง    และในผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ช่องคลอด(Vaginal infection)เป็นสองเท่า

 

          

 

                                                           ภาพที่ 4.7  แสดงแผลในกระเพาะอาหารของคน

                                                           ที่มา : http://medicalimages.allrefer.com/large/ulcer-emergencies.jpg

 

                การเกิดแผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดจากการกินอาหารไม่เป็นเวลา เนื่องจากร่างกายมีระบบควบคุมการหลั่งกรดไฮโดรคลอริก และเพปซิโนเจนในกระเพาะอาหารเป็นเวลาตามปกติที่เคยรับประทานอาหาร ดังนั้นเมื่อในกระเพาะอาหารไม่มีอาหารก็ยังคงหลั่งเพปซิโนเจนและไฮโดรคลอริกดังเดิม ทำให้ผนังกระเพาะอาหารถูกทำลายจนเป็นแผล เพราะกรดไฮโดรคลอริกไปทำลายเซลล์มากกว่าอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ทัน

                การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน รวมถึงการรับประทานอาหารรสจัด ทำให้มีกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ

                การพักผ่อนไม่เพียงพอมีอารมณ์เครียด วิตกกังวลและรับประทานอาหารไม่ได้จะเกิดผล เสียต่อสุขภาพโดยรวมมากยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมาในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ

 

5.  โรคกรดไหลย้อน (Gerd)

             ภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย  บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยวหรือรสขมของน้ำดี  มีอาการกลืนลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ  เจ็บคอ แสบลิ้นเรื้อรังโดยเฉพาะในตอนเช้า   สาเหตุของโรคคือ  ดื่มสุรา  อ้วน  ตั้งครรภ์  สูบบุหรี่  ทานของมันหรือของทอด  การรักษาคือลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง  ทำให้กรดไหลย้อนได้มาก งดบุหรี่     งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง  งดอาหารมัน ทอด  อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม ช็อคโกแลต เผ็ดจัด รับประทานอาหารพออิ่ม   หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา

 

 

                                      ภาพที่  4.8  ภาพภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร

       ที่มา : http://www.surachetclinic.com/images/1200900180/1203648770.jpg

 

ความรู้เพิ่มเติม

 

 

ภาพที่ 4.9  แสดงตัวอย่างยาบางชนิด

ที่มา : www.yourhealthyguide.com

 

                -  ยาก่อนอาหาร  คือ   ยาที่ละลายได้ดีในสภาวะเป็นกรด  ในกระเพาะอาหารในสภาพที่ท้องว่างมีสภาพเป็นกรดเพราะมีกรดเกลือ(HCl) อยู่  จึงจำเป็นต้องกินยาประเภทนี้ก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที  เพื่อให้ยาละลายและดูดซึมได้ดีทำให้ประสิทธิภาพของยาและการรักษาได้ดีด้วย

                -  ยาหลังอาหาร   คือ  ยาประเภทที่มีสภาพเป็นกรดหรือเร่งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร  ถ้ากินยาประเภทนี้ในสภาพก่อนอาหารหรือท้องว่าง  ทำให้เกิดสภาวะกรดในกระเพาะอาหารสูงและกัดกระเพาะให้เป็นแผลได้  ยาหลังอาหารบางประเภทจะถูกทำลายประสิทธิภาพหรือฤทธิ์ของยาด้วยสภาวะกรด  ดังนั้นจึงควรกินยาชนิดนี้หลังรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที

 

                                                           ............................................................................................

 

กระเพาะอาหารถุงน้ำดีดูโอดีนัม ลำไส้เล็กส่วนต้น